บทวิเคราะห์: ระบบสาธารณสุขสหรัฐฯ ผูกมัดชีวิตผู้ป่วยกับทุน

2021-01-18 15:55:40 |แหล่งที่มา: CRI

“แว่นขยาย” โควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงระบบการรักษาพยาบาลของสหรัฐฯ ที่โดยแก่นแล้วมุ่งแต่รับใช้ระบบทุน “มัด” ชีวิตผู้ป่วยจนสิ้นเนื้อประดาตัว ระบบประกันสุขภาพสหรัฐฯ เป็นแบบผสมระหว่างประกันสุขภาพเชิงพาณิชย์กับประกันสุขภาพของรัฐ โดยถือเอาภาคตลาดเป็นหลักและภาครัฐเป็นรอง ซึ่งต่างจากของยุโรปและญี่ปุ่น อายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันจึงสั้นกว่าในประเทศสมาชิกอื่นขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ระบบสาธารณสุขสหรัฐฯ แทรกแซงตลาดเกินควรและขาดการกำกับดูแลจากภาครัฐ จึงตกเป็นสมรภูมิของระบบทุนที่มุ่งผลกำไร ลักษณะเด่นชัดที่สุด คือ ผู้ผลิตยาขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายผูกขาดตลาดผลิตภัณฑ์ยา ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็น 1 ในประเทศที่มีราคาผลิตภัณฑ์ยาแพงที่สุดในโลก ชาวอเมริกาวัยผู้ใหญ่ทั่วไปอย่างน้อย 19 ล้านคนจำใจต้องไปซื้อยาที่แคนาดา เม็กซิโก หรือ ประเทศอื่น เนื่องจากราคายาในประเทศแพงลิ่ว

หลังโควิด-19 แพร่ระบาด แม้มีประกันสุขภาพ แต่ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วไปในสหรัฐฯ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 9,800 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ส่วนค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการแทรกซ้อนเฉลี่ยแล้วเกินกว่า 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ ผลการสำรวจจึงระบุว่า ทุก 11 คนอเมริกันจะมี 1 คน ปฏิเสธการไปพบแพทย์เนื่องจากค่ารักษาโควิด-19 แพงมาก โควิด-19 นำมาซึ่งการว่างงานและความสูญเสียทางสังคมพร้อมกัน จึงต้องปล่อยตามบุญตามกรรมซึ่งเป็นทางเลือกเพียงหนึ่งเดียวในยามล้มป่วย

ชาวอเมริกันทั่วไปเดือดร้อนกับค่ารักษาพยาบาลที่แพงลิ่ว แต่กลุ่มผู้หวังเก็งกำไรกลับทิ้งเงินแบบไม่อั้นในสถานที่ที่มองไม่เห็น โดยนำเงินกำไรไปใช้เป็นเงินบริจาคทางการเมือง เพื่อให้ในทางนิติบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลให้เป็นไปในทิศทางที่ตรงกับผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อเก็งกำไรที่สูงกว่านี้

การเมืองทุนนิยมของสหรัฐฯ หากไม่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ชาวอเมริกาทั่วไปกระทั่งทั่วทั้งแผ่นดินถูก “มอด” ในระบบสาธารณสุขกัดกินไปจนหมด นี่ก็ทำไมจะไม่ใช่ “โศกนาฏกรรมแบบอเมริกัน” ที่มุ่งกำกับโดยทุนที่หวังเก็งกำไรเล่า