ปัจจุบัน เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลจีน - อาเซียน ประเทศจีนกับประเทศไทยควรอาศัยบทบาทของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างสองประเทศให้ลุ่มลึกยิ่งขึ้น ตลอดจนร่วมหารือ ร่วมสร้าง ร่วมแบ่งปัน “เส้นทางสายไหมดิจิทัล” ด้วยกัน
การกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นข้อตกลงความเห็นพ้องร่วมกันของผู้นำทั้งสองฝ่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2562 ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีจีนหลี่เค่อเฉียงเยือนประเทศไทยนั้น รัฐบาลไทย -จีนได้ประกาศแถลงการณ์ร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเป็นจุดโดดเด่นภายใต้กรอบข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรม ความมั่นคงทางไซเบอร์การประมวลผลบนระบบคลาวด์ (cloud computing) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ฯลฯ กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2563 ประธานาธิบดีจีนสี จิ้นผิงได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ทั้งสองฝ่ายกล่าวว่า ต้องการที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านนวัตกรรมใหม่ เช่น อีคอมเมิร์ซ ผลักดันการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รวบด้านจีน - ไทยสู่ขั้นใหม่
ปัจจุบัน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลไทย - จีนเริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่าง การหารือระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลไทย - จีนได้จัดขึ้น ณ นครคุนหมิง เมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2562 วิสาหกิจของสองประเทศได้ลงนามโครงการความร่วมมือเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ เครือข่ายการสื่อสาร การจราจรอัจฉริยะ อินเตอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งภาคการเกษตร การท่องเที่ยวอัจฉริยะ และการแพทย์อัจฉริยะ ฯลฯ ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศแรกของโลกที่ใช้ระบบดาวเทียมนำทางเป๋ยโต่วของจีน หลายปีที่ผ่านมาระบบดาวเทียมเป๋ยโต่วมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิของไทย โดยได้อำนวยการบริหารจัดการระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยยกระดับประสิทธิภาพการขนส่งของไทยให้สูงขึ้นอย่างมาก และเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์
ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างปัจจุบันทันด่วนของโรคโควิด - 19 ยิ่งทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองประเทศมีนัยสำคัญเด่นชัดยิ่งขึ้นระหว่างการแพร่ระบาด ธุรกิจและอุตสาหกรรมดั้งเดิมจำนวนมากประสบความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากได้รับผลกระทบจากห่วงโซ่อุตสาหกรรม วิถีชีวิตและการทำงานแบบ New Normal ผลักดันให้พฤติกรรมบริโภคจำนวนมากเปลี่ยนรูปแบบจาก Offline เป็น Online ซึ่งยิ่งเร่งให้ลักษณะการบริโภคแบบดิจิทัลพัฒนาอย่างรวดเร็ว วิสากิจของไทยจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ อีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอร์รี่ และการขนส่งบรรจุภัณฑ์เร่งด่วนเกิดโอกาสการพัฒนาใหม่ ๆ และกลายเป็นไฮไลท์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
ในอนาคต ไทยกับจีนสามารถที่จะขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ประการแรก ส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้าด้วยกัน ทั้งสองฝ่ายสามารถยกระดับความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” กับข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ให้สูงขึ้น โดยอาศัยกลไกการเจรจาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลไทย - จีนร่วมกันพิจารณาหารือ เพื่อพัฒนาวาระสำคัญ คือ เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตกับเครือข่าย 5G และปัญญาประดิษฐ์ ฯลฯ เพื่อกำหนดแผนที่เส้นทางความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประการที่สอง ทดลองก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลไทย - จีน อาศัยการรวมศูนย์ของนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นประโยชน์แก่การยกระดับความร่วมมือในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างไทย - จีนในลึกซึ้งยิ่งขึ้น วิสาหกิจไทย - จีนควรกระชับความร่วมมือในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมเพื่อก่อให้เกิดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ของเศรษฐกิจดิจิทัล ประการที่สาม ก่อตั้งกลไกความร่วมมือเพื่อบ่มเพาะทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัลไทย - จีนเนื่องจากการพัฒนาสู่เศรษฐกิจดิจิทัลต้องการคุณสมบัติที่สูงขึ้นของทรัพยากรบุคคลด้านนี้ซึ่งการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจดิจิทัลไทย - จีน มีความต้องกาทรัพยากรบุคคลด้านนี้จำนวนมากอย่างเร่งด่วนทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะสร้างกลไก เพื่อรองรับการบ่มเพาะทรัพยากรบุคคลดิจิทัล และกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลให้ลึกซึ้งอย่างต่อเนื่อง