ประชาคมชะตาชีวิตร่วมกัน : กุญแจสำหรับความเข้าใจความสัมพันธ์จีน - อาเซียน

2022-01-20 14:39:42 |แหล่งที่มา: นิตยสารแม่น้ำโขง

ปี พ.ศ. 2564 เป็นปีครบรอบ 30 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน - อาเซียน เมื่อมองย้อนเส้นทางที่ฟันฝ่าอุปสรรคกันมา 30 ปีนี้ ความสัมพันธ์จีน - อาเซียน เอาชนะอุปสรรคและก้าวไปข้างหน้าจีนกับอาเซียนตั้งพื้นฐานที่ผลประโยชน์ร่วมกัน พัฒนาร่วมกัน ยึดถือแนวคิดร่วมกันรับผิดชอบร่วมกัน ก่อร่างเป็นพลังร่วมที่ยิ่งใหญ่แข็งแกร่งผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายให้บรรลุการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากศูนย์ ความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน - อาเซียนยกระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเนื้อแท้ก็คือประชาคมที่มีชะตาชีวิตร่วมกัน ประชาคมชะตาชีวิตร่วมกันไม่เพียงแต่สามารถเป็นตัวอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างถูกต้องเท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจในการทำความเข้าใจการพัฒนาอย่างรวดเร็วของความสัมพันธ์จีน - อาเซียนได้อย่างลึกซึ้งอีกด้วย

ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นเงื่อนไขแรกของการพัฒนาความสัมพันธ์จีน - อาเซียน

จีนกับอาเซียนตั้งอยู่ติดกัน พึ่งพาอาศัยกัน ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงกำหนดให้ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นเป้าหมายร่วมกัน ขอบเขตและมิติของความร่วมมือก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายรักษาแนวโน้มการร่วมมือกันอย่างแข็งขันดูแลผลประโยชน์ของอีกฝ่าย มีผลประโยชน์ร่วมกันกว้างขวางขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้สถานการณ์โควิด จีนกับอาเซียนสนับสนุนซึ่งกันและกัน ร่วมกันต่อสู้กับช่วงเวลาที่ยากลำบาก อยู่ในแนวหน้าประเทศที่ฟื้นฟู ภายหลังการระบาดโควิด พยายามปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสอย่างมีประสิทธิผลและเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ด้านธุรกิจออนไลน์ Big Data และ 5G เป็นต้น พยายามอย่างเต็มกำลังเพื่อผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค ในกระบวนการนี้ ความสัมพันธ์หุ้นส่วนระหว่างทั้งสองฝ่ายก้าวขึ้นสู่อีกระดับ มิตรภาพระหว่างกันและผลประโยชน์ร่วมกันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาร่วมกันคือแรงขับเคลื่อนการเติบโตของความสัมพันธ์จีน - อาเซียน

เคารพซึ่งกันและกัน เกื้อกูลประโยชน์และก้าวสู่ชัยชนะร่วมกัน เป็นหลักจารึกที่ชัดเจนของการพัฒนาความสัมพันธ์จีน - อาเซียน ระบอบการปกครองความจำเป็นของสถานการณ์ภายในประเทศและเส้นทางการพัฒนาของจีนกับประเทศอาเซียนมีความแตกต่างกัน ทั้งสองฝ่ายเคารพทางเลือกของกันและกันเคารพผลประโยชน์ที่เป็นหัวใจหลักของกันและกัน  และประเด็นสำคัญที่เป็นข้อกังวลของกันและกัน ใช้การทำความเข้าใจอย่างจริงจังผ่านการหารือเจรจาเพื่อบรรลุซึ่งการพัฒนาร่วมกัน

การเกื้อกูลประโยชน์และก้าวสู่ชัยชนะร่วมกันได้เติมเต็มการติดต่อทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนต่าง ๆ ส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายเปิดตลาดกว้างใหญ่ยิ่งขึ้น ผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกันและการสร้างระบบกลไกความร่วมมือใหม่ สร้างจุดเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ข้อเสนอริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เป็นเส้นทางที่ทุกประเทศเข้าร่วมและเกื้อกูลประโยชน์ก้าวสู่ชัยชนะร่วมกัน ได้สร้างโอกาสใหม่ในการบรรลุชัยชนะให้แก่ความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน ปรับตัวกลายเป็นแรงขับเคลื่อนในการกระตุ้นการพัฒนาความเติบโตร่วมกันของทั้งสองฝ่าย และรักษาแนวโน้มที่ดีในการเติบโตรุ่งเรืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในขณะเดียวกัน สนธิสัญญาความสัมพันธ์หุ้นส่วนเศรษฐกิจรอบด้านประจำภูมิภาค (RCEP) กับ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ได้ร่วมส่งเสริมซึ่งกันและกัน จีนกับอาเซียนร่วมกันผลักดันความร่วมมือภูมิภาคและการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งทำให้กรอบความร่วมมือเหล่านี้สมบูรณ์และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น นำพาเศรษฐกิจภูมิภาคให้ฟื้นตัว ยกระดับแรงขับเคลื่อนภายในของเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ รวมถึงความสามารถในการต่อสู้กับความเสี่ยงด้วย เสริมสร้างพื้นฐานการร่วมกันก้าวสู่ชัยชนะของจีน - อาเซียนให้แข็งแกร่งขึ้นและสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่มีมาตรฐานสูงขึ้นอีก

แนวคิดร่วมกันเป็นทิศทางนำพาการพัฒนาความสัมพันธ์จีน - อาเซียน

ในฐานะเป็นผู้ผลักดันที่แน่วแน่ของความร่วมมือภูมิภาค จีนกับอาเซียนมีแนวคิดค่านิยมร่วมกันจำนวนมาก หลายปีมานี้ อาเซียนกับจีนยึดคนเป็นที่ตั้ง เน้นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและยึดผลประโยชน์ของประชาชน 2 พันกว่าล้านคนในภูมิภาคนี้เป็นพื้นฐาน เพื่อผลักดันความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้าน พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างรอบด้านด้วย

ในแผนพิมพ์เขียว 10 ปีในอนาคตของประชาคมอาเซียน ได้เน้นย้ำแนวคิดความร่วมมือที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง พยายามสร้างประชาคมขึ้นเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาให้แก่ประชาชนมากขึ้น สร้างสังคมที่สมานฉันท์ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกันซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของ “การยึดคนเป็นหลัก” ของจีนอย่างมาก ซึ่งจะช่วยรักษาและส่งเสริมให้ผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนเป็นอันดับแรกเช่นกันไม่เพียงเท่านี้  จีนยังจะเชื่อมโยงข้อริเริ่มการสร้าง “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ร่วมกันเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนภาพรวมของอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ส่งเสริมการเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐาน ผลักดันโครงการจำนวนมากที่เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสร้างความผาสุกร่ำรวยให้คืบหน้าไปอย่างราบรื่น

แนวคิดประชาคมชะตาชีวิตร่วมกันจีน - อาเซียนมีเงื่อนไขเกื้อหนุนพร้อมสมบูรณ์

เมื่อ 30 ปีที่แล้ว จีนกับอาเซียนอาศัยสถานการณ์ในแต่ละประเทศและความจำเป็นที่แท้จริงประสานมือกันพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค ผลักดันสังคมให้ก้าวหน้า ส่งเสริมความผาสุกของประชาชนในด้านความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ประสบผลสำเร็จอย่างอเนกอนันต์ โดยเฉพาะหลายปีมานี้ ทั้งสองฝ่ายร่วมกันประกาศแถลงการณ์ร่วมต่าง ๆ อาทิ “แผนปฏิบัติการว่าด้วยแถลงการณ์ร่วมในการบรรลุการก้าวสู่ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สันติและรุ่งเรืองระหว่างจีนกับอาเซียน (2021 - 2025)”  “อนาคตปี พ.ศ. 2573 ของความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์จีน - อาเซียน” ส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจกันทางการเมืองระหว่างสองฝ่ายให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคพัฒนาไปอย่างแข็งแกร่ง การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดำเนินไปอย่างกว้างขวาง พอกพูน และหลากหลาย ได้วางรากฐานเจตนารมณ์ของประชาชนทั้งสองฝ่ายในความร่วมมือหลากหลายมิติและหลายระดับ ผลักดันความตระหนักในการเป็นประชาคมชะตาชีวิตร่วมกันให้ฝังรากลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ท่ามกลางบททดสอบและความท้าทายของโรคโควิด จีนกับอาเซียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันร่วมชะตาชีวิตกัน ส่งต่อความห่วงใยและมิตรภาพในรูปแบบต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ ทำให้พื้นฐานความสัมพันธ์จีน - อาเซียนแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ประชาชนจิตใจสอดประสานแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ความตระหนักในการเป็นประชาคมชะตาชีวิตร่วมกันชัดเจนยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์จีน - อาเซียนได้ยกระดับขึ้นไปอยู่ในจุดสูงครั้งใหม่ ประชาคมชะตาชีวิตร่วมกันจีน - อาเซียนก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากการเป็นแนวคิดก้าวไปสู่ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

ทิศทางและอนาคตการพัฒนาความสัมพันธ์จีน - อาเซียน

ตั้งแต่จีนกับอาเซียนได้สถาปนาความสัมพันธ์คู่เจรจา 30 ปีมานี้ เจตนารมณ์ความร่วมมือทั้งสองฝ่ายแรงกล้าขึ้น โอกาสความร่วมมือก็กว้างขวางขึ้น พื้นฐานความร่วมมือก็แข็งแกร่งขึ้น ดำเนินตามแนวคิดประชาคมชะตาชีวิตร่วมกันด้วยการปฏิบัติการอย่างแท้จริงต่อเนื่อง อธิบายและเพิ่มเติมเนื้อหาประชาคมชะตาชีวิตร่วมกัน ความสัมพันธ์จีน - อาเซียนได้กลายเป็นแบบอย่างความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและมีพลวัตรมากที่สุด

ณ จุดเริ่มต้นใหม่ ในเส้นทางเดินทัพใหม่ จีนกับอาเซียนยังจำเป็นต้องเพิ่มพูนความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมซึ่งเป็นสามเสาหลัก ยึดมั่นร่วมกันรับผิดชอบและแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน ร่วมกันยกระดับความสัมพันธ์ ร่วมกันรักษาเสถียรภาพความรุ่งเรืองของภูมิภาค ทำให้ภูมิภาคกลายเป็นพื้นที่แห่งการพัฒนาขั้นสูงและผืนดินสีเขียวแห่งสันติที่ยั่งยืน จีนกับอาเซียนจำเป็นต้องร่วมแรงร่วมใจกันอย่างต่อเนื่อง เร่งสร้างฝีก้าวประชาคมชะตาชีวิตร่วมกันที่แนบแน่นยิ่งขึ้น สร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์เชื่อมั่นในตัวเองยิ่งขึ้น เต็มไปด้วยพลังชีวิตและพลวัตร รับมือกับความท้าทายในภูมิภาคและโลกได้ดียิ่งขึ้น เป็นแรงขับเคลื่อนที่แกร่งกล้าให้แก่เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกให้ก้าวสู่ความรุ่งเรืองร่วมกัน

หลัว เซิ่งหรง นักวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาโท - เอก คณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยยูนนาน

เหลียง จิ่นหรง ผู้ช่วยวิจัยสถาบันวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยยูนนาน