เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ สถานีเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนหัวโตเจียงชวนทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบซิงหยุนในเมืองอวี้ซี คุณจาง ซื่อชุน หัวหน้าสถานีประมงและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเจียงชวน และทีมงานของเขากำลังวุ่นอยู่กับการเพาะพันธุ์ลูกปลาตะเพียนหัวโต ปลาตะเพียนหัวโต (Cyprinus Pellegrini) เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของทะเลสาบซิงหยุน จากสถิติ ปลาที่จับได้ในทะเลสาบซิงหยุนประมาณ 50% จะเป็นปลาตะเพียนหัวโต ส่วนอีก 20% จะเป็นปลาซิงหยุนขาวซึ่งเป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองอีกชนิดหนึ่งของทะเลสาบซิงหยุน หลังคริสต์ทศวรรษ 1980 สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยปลาพื้นเมืองในทะเลสาบซิงหยุนได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปลาพื้นเมืองในทะเลสาบซิงหยุนประสบกับภาวะใกล้สูญพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2543 สถานีคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำเจียงชวนได้ทำการรวบรวมปลาตะเพียนหัวโตจำนวน 325 ตัวจากพื้นที่ต่าง ๆ ในทะเลสาบ เพื่อทำการวิจัยการเพาะเลี้ยงและการสืบพันธุ์ปลาพื้นเมือง ในพ.ศ. 2547 ได้วางลอบดักปลาเพื่อดักจับปลาซิงหยุนขาว บางส่วนรับซื้อจากชาวประมง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำทุกวิถีทางเพื่อรวบรวมปลาซิงหยุนขาวสายพันธุ์ดั้งเดิมไว้เพื่อการเลี้ยงและผสมพันธุ์เทียมต่อไป “พวกผมเสนอให้มีการผสมเทียมปลาซิงหยุนขาว แต่ความคิดนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องตลกในสายตาชาวประมงในพื้นที่” คุณจางกล่าว แม้จะยากเย็นเพียงใดก็ต้องพยายามทำให้สำเร็จ ปัจจุบัน สถานีทดลองเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ปลาซิงหยุนขาวริมทะเลสาบซิงหยุนสามารถสืบพันธุ์ปลาพื้นเมืองไว้ได้มากถึง 6 สายพันธุ์ได้แก่ ปลาไซปรัส ปลาต้าวซึปายูนนานหรือ Spinibarbus denticulatus yunnanensis ปลาบาร์โบดีส หรือ Barbodes fuxianhuensis ปลาคาร์พชี่ปลาฮวาหลู่หลีหรือ Percocypris pingi regani และปลาสร้อยลูกกล้วย