อะไรคือสังคมอยู่ดีมีสุขถ้วนทั่ว

2021-01-29 15:08:17 |แหล่งที่มา: นิตยสารแม่น้ำโขง

เป็นเวลานับร้อยนับพันปีมาแล้ว “เสี่ยวคัง” หรือ “สังคมอยู่ดีมีสุข” เป็นคำที่สื่อถึงการมีชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข มั่งคั่ง มั่นคง สงบสุขของชาวจีนเป็นวิถีชีวิตตามอุดมคติที่ฝันใฝ่แสวงหาอีกทั้งเป็นเป้าหมายในการพัฒนาแห่งยุคสมัยที่เป็นรูปธรรมของจีน ปลายปี พ.ศ. 2563 การสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุข กำลังจะบรรลุผลสำเร็จสมดังที่ประชาชนจีนทั้งมวลต่อสู้ร่วมกันมา

กว่า 2,500 ปีที่ก่อน ประชาชนจีนได้เสนอแนวคิด “เสี่ยวคัง” อันเป็นอุดมคติทางสังคมเป็นครั้งแรก “ซือจิง” บทกวีวรรณคดีจีนโบราณหยิบยก “เสี่ยวคัง” ขึ้นเป็นครั้งแรก กล่าวถึงชีวิตผู้คนที่ใช้แรงงานกันไม่ได้หยุดหย่อน มุ่งหวังว่าจะได้ใช้ชีวิตที่ดีกว่า

“เสี่ยวคัง” โดยถ้วนหน้า ไม่ได้หมายถึงความสุขสบายทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังได้ยึดการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งเพื่อเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง วัฒนธรรม สังคม อารยธรรมทางนิเวศวิทยาตลอดจนการพัฒนาอื่น ๆ โดยทั่วหน้า ส่งเสริมการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่ทันสมัยปรับประสานการพัฒนาในทุกห่วงโซ่และทุก ๆ ด้าน

“เสี่ยวคัง” โดยถ้วนหน้าไม่ใช่เพียงคนส่วนน้อยที่บรรลุถึงความอยู่ดีมีสุขเท่านั้น ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนกล่าวว่า การก่อสร้างสังคมเสี่ยวคังโดยถ้วนหน้า ห้ามตกหล่นแม้แต่คนเดียว การพัฒนาเสี่ยวคังของจีนจะต้องยังประโยชน์ต่อประชาชนทั่วทุกคน “เสี่ยวคัง” โดยถ้วนหน้า ไม่ได้สร้างความเจริญจำเพาะในพื้นที่พัฒนาและพื้นที่เมือง การบรรลุสังคมที่อยู่ดีมีสุขอย่างรอบด้านเป็นกระบวนการพัฒนาเพื่อลดช่องว่างให้แคบลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระดับรายได้ของผู้อยู่อาศัยในภูมิภาคต่าง ๆ ระดับการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ระดับความเท่าเทียมกันของบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชน

ปี พ.ศ. 2563 ของประเทศจีน กำลังโอบกอดช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ที่ก้าวย่างเข้ามา

เป้าหมายของการสร้างสังคม “เสี่ยวคัง” โดยถ้วนหน้านั้น ประเทศจีนได้วางมาตรฐานไว้ว่าจะทำให้ประชากรที่ยากลำบากในชนบททั้งหมดหลุดพ้นจากความยากจนภายในปี พ.ศ. 2563  เป็นคำมั่นสัญญาอันแน่นหนักที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนได้ให้ไว้กับประชาชน เป็นที่คาดหมายได้ว่า จะเป็นการขจัดความยากจนได้อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับพันปีของจีน

การบริหารจัดการความยากจนเป็นปัญหายากระดับโลก ประสิทธิผลของการทำงานลดความยากจนของจีน ไม่เพียงมองเฉพาะแต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชากรที่ยากจนของจีนเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นยังดูว่าเป้าหมายการอยู่ดีมีสุขด้านอื่น ๆ ที่ได้กำหนดไว้จะสามารถประสบ-ความสำเร็จได้หรือไม่ด้วย

สำหรับนิตยสารฉบับเดือนนี้ เราจะนำคุณไปดูการสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุข โดยมุ่งเน้นให้เห็นในทุก ๆ ด้าน เพื่อทำความเข้าใจถึงการต่อสู้อย่างแตกหักกับความยากจนของประเทศจีน

ข้อมูลเพิ่มเติม

เป้าหมายของ “เสี่ยวคัง” คืออะไร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนระยะ 5 ปีฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2559 -2563) ได้เสนอเป้าหมายการสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุขถ้วนหน้า

อย่างไรจึงจะถือว่าหลุดพ้นความยากจนในประเทศจีน

มาตรฐานรายได้เพื่อการบรรเทาความยากจนของจีนคำนวณจากฐานรายได้เฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรในปี พ.ศ. 2554 จะอยู่ที่ประมาณ 4,000 หยวนในปี พ.ศ. 2563

ที่สำคัญกว่านั้นคือ คนยากจนจะต้องไม่กังวลกับเรื่องอาหาร เสื้อผ้า การศึกษาภาคบังคับ การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานและความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้งหมดมีหลักประกัน

ตามหลักมาตรฐานนับตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 คนจนในชนบทมากกว่า 700 ล้านคนหลุดพ้นความ

ยากจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ประชากรที่ยากจนของประเทศลดลงจาก 98.99 ล้านคนเป็น 5.51 ล้านคน ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563 คนจนทั้งหมดในจีนภายใต้มาตรฐานปัจจุบันจะบอกลาความยากจน