การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างรายได้ให้กับคนยากจน

2021-01-29 14:58:50 |แหล่งที่มา: นิตยสารแม่น้ำโขง

หนทางสู่ “เสี่ยวคัง” ถ้วนทั่ว

ดูแลโรงเรือนผักกางมุ้งที่เชิงเขาเอเวอเรสต์

การปลูกผักที่อำเภอไป่หลางเมืองยื่อข่าเจ๋อในเขตปกครอง ตนเองทิเบต ซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงเขาเอเวอเรสต์ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นฐานปลูกผักที่สำคัญบนพื้นที่ที่ราบสูง บริษัท Tibet Everest Agricultural Technology Development Co. , Ltd. (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “Everest Agriculture”) เป็นธุรกิจอุตสาหกรรม การเกษตรขนาดใหญ่ในอำเภอไป่หลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 บริษัท Everest Agriculture ได้สร้างโรงเรือนผักกางมุ้ง 119 แห่งใน พื้นที่ มี่หม่าเพี่ยนตัว หญิงสาวชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้บริษัท ฯ เป็นผู้ดูแลโรงเรือนผักกางมุ้งโซน B/ 3 ของพื้นที่สวนผักเอเวอเรสต์ แปลงมะระภายในพื้นที่ขนาด 12 ไร่นี้ มี่หม่าเพี่ยนตัว มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลจัดการโรงเรือนประจำวัน

“ทางบริษัทตั้งเป้าหมายไว้ให้ว่า ถ้าผลผลิตมะระแต่ละแปลงในโรงเรือนนี้สูงกว่า 5 หมื่นชั่ง ฉันจะได้รับเงินรางวัลอีกต่างหาก” มี่หม่าเพี่ยนตัวกล่าว นับตั้งแต่อุตสาหกรรมสวนเกษตรบริษัท Everest Agriculture ก่อตั้งขึ้นมา ได้แบ่งรายได้มากกว่า 5 ล้านหยวนให้กับครอบครัวผู้ยากจนในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมา ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านจะปลูกแต่ธัญพืชเท่านั้นรายได้เพียงพอแค่พื้นฐานดำรงชีพ ขณะนี้ บริษัท Everest Agriculture กำลังวางแผนที่จะจัดให้มีการฝึกอบรมด้านเทคนิคแบบครบวงจรแก่เกษตรกรและแจกจ่ายต้นกล้าเพื่อให้เกษตรกรจำนวนมากขึ้นสามารถเพาะปลูกได้ผลผลิตตามมาตรฐานที่บริษัทวางไว้

หนทางสู่ “เสี่ยวคัง” ถ้วนทั่ว

แป้งนานพัฒนากลายเป็นอุตสาหกรรม

แป้งนาน เป็นขนมปังใส่ยีสต์ชนิดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ง่ายต่อการเก็บไว้ได้นานนี้ เป็นเสบียงสำคัญที่สุดสำหรับพ่อค้าบนเส้นทางสายไหมโบราณและยังคงเป็นอาหารหลักที่สำคัญของภาคตะวันตกจีน ตลอดจนประเทศต่าง ๆ ในเอเชียกลาง ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ แป้งนานอบแบบดั้งเดิมได้พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมไปแล้ว

อำเภอเจียซือทางตอนใต้ของซินเจียงได้สร้างสวนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมแป้งนานขึ้น เป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมตั้งแต่การผลิตและแปรรูป คลังสินค้าและโลจิสติกส์ไปจนถึงการฝึกทักษะ ยอดขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์มวลรวมโดยเฉลี่ยมากถึง 300,000 ต่อวัน มีการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่ 1,200 คน อูพัลเจียง คาสมู่เป็นหนึ่งในนั้น เขาอยู่ในครอบครัวที่ยากจน ได้มาทำงานที่นี่เมื่อปีที่แล้ว “ปัจจุบัน ผมสามารถทำแป้งนานได้วันละกว่า 500 แผ่น ยังสอนลูกศิษย์อีกสี่คน” เขากล่าว อาศัยเงินเดือนที่แน่นอนบวกกับเงินพิเศษเขามีรายได้ 4,200 หยวนต่อเดือน ปัจจุบัน ทั้งซินเจียงผลิตแป้งนานได้ราว 650 ตันต่อวัน มีจำนวนมากกว่า 175 ชนิด จัดจำหน่ายไปทั่วประเทศ 21 มณฑล และส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

อุตสาหกรรมบรรเทาความยากจน

เพื่อกำจัดความยากจน การเพิ่มขึ้นของรายได้เป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดและใช้งานง่ายที่สุด การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่อุตสาหกรรมไม่เคยได้รับการพัฒนามาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น รัฐบาลท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ได้คิดหาวิธีการมากมาย

ที่ต้าเหลียงซัน มณฑลเสฉวนได้เปิดตัวกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมและอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานลม เขตอวู่หลง เมืองฉงชิ่งใช้ธรณีสัณฐานแบบคาสต์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พื้นที่บางแห่งในมณฑลกุ้ยโจวใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากต้นไม้แต่ละต้นทำการดูดซับไว้เป็นผลิตภัณฑ์ จัดจำหน่ายเป็นการกุศลให้กับสังคม ในหมู่บ้านหลี่อวี้ เมืองอวู่เซียง มณฑลซันซี เกือบ 1 ใน 3 ของชาวบ้านในหมู่บ้านที่มีไม่ถึง 1,000 คนกลายเป็นนักมายากล ...

การบรรเทาความยากจนอย่างตรงจุด

รัฐบาลจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์สำหรับการบรรเทาความยากจนอย่างตรงจุด โดยต้องมีการจัดการเป้าหมายการบรรเทาความยากจนอย่างละเอียดรอบคอบ และการจัดสรรทรัพยากรเพื่อบรรเทาความยากจนได้อย่างแม่นยำ ทุกส่วนของจีนได้จัดทำที่เก็บเอกสารสำหรับครัวเรือนยากจนแต่ละครัวเรือนที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน และสร้างระบบเครือข่ายข้อมูลการบรรเทาความยากจนแห่งชาติที่เป็นเอกภาพจากการจัดทำเอกสารสำคัญรัฐบาลท้องถิ่นจำเป็นต้องจัดการกับสาเหตุของความยากจนในทุกพื้นที่และทุกครัวเรือนที่ยากจน ตระหนักถึงการจัดการที่ละเอียดอ่อนและมีพลวัตของครัวเรือนที่ยากจนและคนยากจน ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่ตรงเป้าหมาย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาบรรลุเป้าหมายในการบรรเทาความยากจนภายในเวลาที่กำหนดและบรรลุการบรรเทาความยากจนอย่างตรงจุด

การบรรเทาความยากจนแบบเจาะจง

การบรรเทาความยากจนแบบเจาะจงเป็นมาตรการหนึ่งของจีนที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ภายใต้การวางแผนที่เป็นเอกภาพจากรัฐบาลกลาง พรรครัฐบาลและหน่วยงานทหารของจีนรัฐวิสาหกิจสถาบันการศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ได้ดำเนินการบรรเทาความยากจนแบบเจาะจงในพื้นที่ยากจน เพื่อประกันการบรรเทาความยากจนในท้องถิ่น องค์กรกำหนดพื้นที่เพื่อปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือแก่พื้นที่ยากจน โดยนำทรัพยากร เช่น ทุนทรัพย์ ความรู้และกำลังคนลงสู่พื้นที่ จากหมู่บ้านหนึ่งจนถึงเขตอำเภอหนึ่ง

จากจุดนี้จึงเกิดระบบการช่วยเหลือในหมู่บ้านขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือจะส่งเจ้าหน้าที่ไปยังท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่บรรเทาความยากจนประจำหมู่บ้าน พวกเขากินอยู่และทำงานร่วมกับคนในพื้นที่เป็นเวลานานจึงมีความเข้าใจโครงสร้างประชากรในท้องถิ่นและสาเหตุของความยากจน ร่วมกับหน่วยงานที่เชื่อมโยงและรัฐบาลท้องถิ่นดำเนินงานบรรเทาความยากจน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรม แสวงหาโครงการและเงินทุน

หลักประกันการดำรงชีวิตขั้นต่ำสำหรับคนในชนบท

ด้านหนึ่งจีนสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ยากจน ในอีกด้านหนึ่งก็ให้หลักประกันการดำรงชีวิตขั้นต่ำสำหรับคนในชนบทที่มีรายได้สุทธิต่อหัวต่อปีต่ำกว่ามาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำในท้องถิ่น ณ สิ้นปี พ.ศ. 2562 มีครัวเรือนยากจนในจีน 17.96 ล้านครัวเรือนได้รับหลักประกันขั้นต่ำในชนบท