“ในบริบทของภาษาไทย คำว่า “เสี่ยวคัง” หรือ “สังคมอยู่ดีมีสุข” มีนัยยะหมายถึง “มีอาหารการกินที่ดี” และ “มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยตามโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ท่านใช้ชีวิตการเป็นอาจารย์ที่เมืองจีนมาเป็นเวลา 17 ปี กล่าวได้ว่าท่านเป็นกูรูผู้รอบรู้เมืองจีนตัวจริง
ในมุมมองของอาจารย์เกื้อพันธุ์ คีย์เวิร์ดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจีนในปี พ.ศ. 2563 ก็คือ “เสี่ยวคัง” “ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนทำให้เศรษฐกิจของจีนพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2563 จีนจะสามารถบรรลุภารกิจ ‘เสี่ยวคัง’ อย่างถ้วนหน้าได้นั้น นับเป็นสิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะอาจารย์และนักวิจัย ดิฉันมีหน้าที่ใช้ภาษาไทยมาอธิบายความหมายของคำว่า ‘เสี่ยวคัง’ ให้ถูกต้อง”
“ในขั้นตอนของการบรรเทาความยากจน รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาในพื้นที่ยากจนอย่างยิ่ง มีคำพูดที่ว่า ‘การศึกษาสามารถช่วยให้คนหลุดพ้นจากความยากจน’ หมายความว่า หากต้องการหลุดพ้นจากความยากจนสิ่งแรกที่ควรจะต้องทำก็คือยกระดับความรู้ของกลุ่มคนยากจน” สำหรับอาจารย์เกื้อพันธุ์ท่านได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของการศึกษาในการพัฒนาสังคมอย่างมาก
“สิ่งแรกที่ควรจะต้องทำคือให้คนในชุมชนได้รับความรู้ เช่น ชุมชนที่ทำอาชีพเกษตรกรรม หากชาวบ้านรู้วิธีการเพาะปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ได้ผลผลิตและคุณภาพที่ดีรวมถึงยอดขายก็จะดีตามไปด้วย” อาจารย์เกื้อพันธุ์เชื่อว่า การศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาได้ ในช่วงที่อยู่ในประเทศจีนท่านได้พบเห็นเรื่องราวดังกล่าวมากมาย “ฉันมีลูกศิษย์หลายคนที่มาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน พวกเขาขยันอดทนมากและด้วยความขยันหมั่นเพียรของพวกเขา หลังจากจบการศึกษาประมาณ 10 ปี นักเรียนหลายคนมีความก้าวหน้าในชีวิตมาก”
อาจารย์เกื้อพันธุ์เชื่อว่าความยากจนเกิดจากหลายปัจจัย แต่การมุ่งเน้นและให้ความสำคัญไปที่พลังของการศึกษา และความรู้จะเป็นหนทางในการสร้างสังคมอยู่ดีมีสุขได้ในที่สุด
ยูนนานในฐานะมณฑลที่อยู่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุดและมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดกับประเทศจีนเสมอมา “งานบรรเทาความยากจนในพื้นที่ยูนนานซึ่งเป็นภารกิจที่ลำบากยากยิ่งแต่ได้รับผลอย่างเห็นชัด”อาจารย์เข้าใจถึงสภาพของผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขา ซึ่งพวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากมาก ในอดีตต้องใช้เชือกขึงไต่ข้ามแม่น้ำอันเชี่ยวกรากเพื่อเดินทางไปยังตลาดหรือหมู่บ้านอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่นต่างมุมานะทำงานอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน และยังช่วยประชาชนที่มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากให้ย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรมากกว่า อีกทั้งสะดวกในการจัดหางาน การรักษาพยาบาลและมีการศึกษาที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้อาจารย์เกื้อพันธุ์รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก
“การศึกษาสามารถทำให้คนในท้องถิ่นรุ่นต่อไปรู้ว่าพวกเขาควรทำอะไรและต้องขยันอย่างไร” อาจารย์เกื้อพันธุ์กล่าวว่า ท่านกำลังรอคอยช่วงเวลาที่ประเทศจีนจะสามารถบรรลุภารกิจ “เสี่ยวคัง” อย่างถ้วนหน้าได้สำเร็จและหวังว่าในอนาคตท่านจะได้เห็นประเทศจีนยังคงสนับสนุนการศึกษาเพื่อขจัดความยากจนต่อไป และมีผู้คนมากขึ้นสามารถใช้การศึกษามาเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของตนเอง