ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทย - จีนกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานการท่องเที่ยวและบริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ได้ค่อย ๆ กลายเป็นแสงสว่างดวงใหม่ จากกระแสความนิยมมาท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนเพิ่มขึ้น สถาบันบริการทางการแพทย์ของไทยได้ออกมาตรการต่าง ๆ ที่สอดรับกัน เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวจีนได้รับบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่มีความสะ-ดวกสบายมากขึ้น
รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งบริการทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลกมาโดยตลอด ทำการปรับปรุงเทคโนโลยีการบริการทางการแพทย์อย่างมืออาชีพ และพัฒนาทรัพยากรบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงอยู่เสมอ ทางรัฐบาลจีนให้การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อย่างจริงจังเช่นกัน การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์กลายเป็นแนวโน้มหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาประเทศไทย ประเทศไทยสามารถให้บริการทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลกแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ที่หลากหลายของผู้ป่วย ปัจจุบันประเทศไทยมีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่มีความหลากหลาย ไม่จำกัดเฉพาะ “การนวดแผนไทย” อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการด้านศัลยกรรมความงาม การดูแลสุขภาพด้วยสปา ไปจนถึงเวชศาสตร์การกีฬาและการฟื้นฟูสุขภาพ
ในอีกด้านหนึ่ง วิสาหกิจจีนและสถาบันทางการแพทย์ของไทยหลายแห่งได้จัดทำความร่วมมือทางการแพทย์อย่างจริงจัง เช่น ปี พ.ศ. 2562 บริษัทยูนนาน อินเวสเมนท์ กรุ๊ป (Yunnan Investment Group ) มณฑลยูนนาน ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับหลายองค์กรการแพทย์ที่มีชื่อเสียงของไทย พัฒนาความร่วมมือด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพระหว่างประเทศจีน - ไทย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการนำร่องความร่วมมือข้ามพรมแดนด้านการดูแลสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ระหว่างประเทศ ในปีเดียวกัน บริษัท Ping An Health Medical Technology Co. , Ltd. ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านนิเวศวิทยาทางการแพทย์และสุขภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้เครือบริษัทพิงอันแห่งประเทศจีน ได้ร่วมมือกับบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS) ที่มีเครือข่ายการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเปิดตัวให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วยต่างชาติผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จัดตั้งระบบการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยชาวจีนที่ต้องการบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศผ่านทางออนไลน์แบบครบวงจร เพื่อให้ผู้ป่วยชาวจีนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศก็สามารถ “พบแพทย์ต่อหน้า” ชั้นนำได้ทั่วโลก ช่วยให้พวกเขาได้รับแนวทางการรักษาที่หลากหลายและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ในอนาคต ความร่วมมือด้านการแพทย์เชิงการท่องเที่ยวจีน - ไทยจะมีศักยภาพสูงมาก สามารถร่วมมือกันเชิงลึกในหลายด้าน อาทิเช่น อันดับแรก หลังจากผ่านวิกฤติโควิด - 19 แล้ว ผู้คนจำนวนมากจะแสวงหาสไตล์ชีวิตเพื่อสุขภาพและการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายควรทำการเชื่อมโยงกันอย่างแข็งขัน เพื่อกระชับความร่วมมือในการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โดยเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดเวทีเสวนาการจัดนิทรรศการเป็นต้น เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจของทั้งสองฝ่าย อันดับต่อมา ผ่อนคลายนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและดึงดูดนักท่องเที่ยวประเทศจีนและไทย สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพได้อย่างเหมาะสมในแง่ของนโยบายการลงทุนและวีซ่า ฯลฯ เป็นการดึงดูดการลงทุนทางธุรกิจได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันยังสะดวกกับนักท่องเที่ยวที่จะใช้ “การรักษา” นำ“การท่องเที่ยว” หรือใช้ “การท่องเที่ยว” ส่งเสริม “การรักษา” อันดับสาม สร้างพื้นที่อบรมบุคลากรสายอาชีพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ยกระดับทักษะและคุณภาพ ทำให้พวกเขาไม่เพียงเชี่ยวชาญทางการแพทย์ การพยาบาล การดูแลสุขภาพและความรู้ทางวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยปราศจากอุปสรรค
โดยเฉิน เสี้ยวหยุน ผู้ช่วยนักวิจัยสถาบันวิจัยไทยศึกษา สถาบันวิจัยเอเชียใต้ - เอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (คุนหมิง) จีน