ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างได้กลายเป็นปัญหาการอนุรักษ์ของประเทศและพื้นที่ที่มีช้างเอเชียกระจายตัวอยู่จำนวนมาก ประเทศจีนได้ดำเนินหลายมาตรการเพื่ออนุรักษ์ช้างเอเชียมาโดยตลอด เคยมีช้างป่าเอเชียตัวหนึ่งเดินผ่านด่านตรวจชายแดนในเขตอนุรักษ์ข้ามแดนจีน - สปป. ลาว โดยพฤติกรรมทั้งหมดของช้างได้ถูกบันทึกไว้โดยกล้องวงจรปิด
ตามข้อมูลได้ระบุว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จีนกับ สปป.ลาว ได้จัดตั้ง “เขตอนุรักษ์ร่วมความหลากหลายทางชีวภาพเมืองซางยอง สิบสองพันนาของจีน - เมืองน้ำทา แขวงหลวงน้ำทา สปป. ลาว” หลังจากนั้น ยังได้เพิ่มพื้นที่เขตอนุรักษ์ร่วมอีก 3 ผืน ในด้านหนึ่ง เพื่อต้องการอนุรักษ์เส้นทางข้ามแดนของช้างเอเชีย ในอีกด้านหนึ่ง คือต้องการร่วมกับลาวในการนำพื้นที่พักพิงของช้างเอเชียที่กระจัดกระจายรวมเป็นผืนป่าเดียวกันเพื่อการอนุรักษ์ ด้วยความพยายามเช่นนี้ ช้างเอเชียจึงเดินวางมาดจากจีนไป สปป. ลาว ตามเส้นทางถนนเลียบชายแดนที่มนุษย์สัญจรได้อย่างคึกคักเช่นกัน
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2019 เส้นทางรถไฟจีน - ลาวที่คดเคี้ยวไปตามภูเขาในส่วนภายในประเทศจีน อุโมงค์หวงจู๋หลินของเส้นทางรถไฟสายอวี้ซี -บ่อหานได้เชื่อมทะลุกันอย่างเป็นทางการ เนื่องจากเส้นทางรถไฟจีน - สปป. ลาว ลอดผ่านหุบเขาช้างป่าสิบสองพันนา ในกระบวนการศึกษาประเมินผลต่อสภาพแวดล้อม ผู้ก่อสร้างได้สำรวจเส้นทางการกระจายตัวและอพยบของช้างเอเชีย โดยได้เสนอแผนเส้นทางที่หลบเลี่ยงพื้นที่หลัก ๆ ที่ช้างเอเชียดำรงชีวิตอยู่ เส้นทางอพยบของช้าง นอกจากนี้ เพื่อคุ้มครองช้างป่าเอเชีย ผู้ก่อสร้างยังได้สร้างราวกั้นความยาว 6 กิโลเมตรและใช้มาตรการคุ้มครองต่าง ๆ อาทิ ใช้สะพานแทนถนน เป็นต้น
ในฐานะเป็น “สะพานติดต่อระหว่างมนุษย์กับช้างป่าเอเชีย” หุบเขาช้างป่าสิบสองพันนาเป็นสถานที่ที่ช้างป่าดำรงชีวิตอยู่กระจุกตัวมากที่สุดและมีการเคลื่อนไหวบ่อยที่สุดของจีน ณ ที่แห่งนี้ มีทั้งศูนย์เพาะพันธุ์ช้างเอเชียที่ดำเนินงานช่วยเหลือช้างโดยเฉพาะ และยังมีโรงเรียนฝึกช้างเพื่อแสดงให้ผู้ชมได้ดู รวมถึงระเบียงลอยฟ้าที่สามารถเข้าชมสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตของช้างป่าได้ในระยะใกล้ ภายใต้แนวคิดการพัฒนา “อนุรักษ์” และ “เผยแพร่ศาสตร์ความรู้อย่างกว้างขวาง” ทำให้คนกับช้างเอเชียอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์
“จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่พักพิงของช้างเอเชียในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา พบว่า ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างเกิดขึ้นเพราะการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลานาน ทำให้มนุษย์กับช้างเอเชียมีเหตุให้ต้องปฏิสัมพันธ์กันบ่อยขึ้น ความกดดันในการดำรงชีวิตของช้างเอเชียในสมัยก่อนเกิดจากการที่กิจกรรมของมนุษย์ไปรบกวนทำลายแหล่งที่พักของช้างอย่างมากและทำให้คุณภาพแหล่งที่พักของช้างเสื่อมลง” นายจาง ลี่ ศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยระบบนิเวศน์ มหาวิทยาลัยครูปักกิ่ง กล่าว
นายจาง ลี่ เสนอว่า “พวกเราจำเป็นต้องเร่งสร้างสวนสาธารณะแห่งชาติสำหรับช้างเอเชีย จัดทำแหล่งที่พักที่เหมาะสมกับช้างเอเชียในสวนดังกล่าว เพื่อเป็นสถานที่ดำรงชีวิตให้แก่ช้างเอเชียได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จากนั้น ใช้นโยบายการบริหารจัดการระดับประเทศ รวมถึงพยายามโน้มน้าวให้ชาวบ้านเปลี่ยนรูปแบบการทำมาหากิน โดยปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ช้างไม่ชอบกิน เพื่อหาแผนการอนุรักษ์ช้างเอเชียที่ยั่งยืนให้สำเร็จ”