บทวิเคราะห์ : จีนกับยุโรปควรแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ผนึกพลังรับรู้ร่วมกันแก้ปัญหาความแตกต่าง
เดือนมิถุนายนที่เพิ่งผ่านมา นายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเยือนเยอรมนีและฝรั่งเศสตามลำดับ นี่คือการเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีจีนหลังการตั้งรัฐบาลชุดของจีน ไม่เพียงเป็นการเดินทางเพื่อสืบสานสัมพันธไมตรีและลงลึกความร่วมมือ หากยังเป็นการเยือนครั้งสำคัญที่เป็นไปข้อเสนอของผู้นำสูงสุดของจีนในการผลักดันการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ยุโรป
ภายในหนึ่งสัปดาห์ของการเยือน นายกรัฐมนตรีหลี่ เฉียงได้พูดคุยกับบุคคลในวงการการเมืองและธุรกิจของสองประเทศ เพื่อเน้นย้ำว่าการพัฒนาของจีนนำมาซึ่งโอกาสไม่ใช่ความเสี่ยงต่อโลก ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสได้แสดงออกถึงการคัดค้านหรือไม่สนับสนุนให้ตัดการเชื่อมโยงกับจีนอย่างชัดเจน ไม่เห็นด้วยกับการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์ระหว่างประเทศที่ผันผวน จีนกับยุโรปเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความรับรู้ร่วมกัน ร่วมมือกัน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับโลกมากขึ้น
ระหว่างการเยือน หลี่ เฉียงยังเข้าร่วมการประชุมสุดยอดสนธิสัญญาว่าด้วยการระดมทุนใหม่ทั่วโลกและกล่าวสุนทรพจน์ นายหลี่ เฉียงกล่าวว่า จีนให้ความสำคัญอย่างสูงกับการพัฒนาและการบริหารจัดการของโลกมาโดยตลอด หลายปีมานี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนนำเสนอข้อริเริ่มเพื่อการพัฒนาของโลก ข้อริเริ่มเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของโลก และข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมโลก ได้รับการตอบสนองอย่างกว้างขวางจากประชาคมโลก ในฐานะฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก จีนได้อัดฉีดพลังขับเคลื่อนให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าสถานการณ์ทั่วโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร จีนก็ยังคงแน่วแน่ในการผลักดันการพัฒนาด้วยคุณภาพสูง ขยายการเปิดกว้างในระดับสูง ประสานเข้ากับกฎระเบียบเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศด้วยมาตรฐานสูง ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้แบ่งปันโอกาสการพัฒนาของจีน จีนในฐานะประเทศที่มีความรับผิดชอบ ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีสอย่างจริงจัง ทุ่มเทความพยายามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก ในฐานะผู้อุทิศตนด้านการพัฒนาของโลก จีนได้อัดฉีดพลังขับเคลื่อนให้กับการบรรเทาความยากจนและการพัฒนาระหว่างประเทศ ได้สร้างคุณูปการเป็นอย่างมาก เมื่อเผชิญกับช่องว่างด้านการระดมทุนจากการพัฒนาของโลก จีนก็ได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมมือกันด้วยความจริงใจ จับมือกันลงมือปฏิบัติ ร่วมแก้ไขปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศที่อ่อนแอ
ปัจจุบันภายในยุโรปมีการมองความร่วมมือกับจีนในหลายแง่มุม มีหลายความคิดที่ซับซ้อน ซึ่งมีทั้งปัจจัยเชิงอุดมการณ์ระยะยาว กลุ่มอิทธิพลภายนอกที่พยายามทำลายเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของตน เมื่อไม่นานมานี้ผู้นำสหภาพยุโรปนำเสนอแนวคิดขจัดความเสี่ยง แต่สื่อมวลชนบางแห่งของตะวันตกกลับนำเอาเรื่องนี้มาสร้างประเด็นใหม่ที่ก่อให้เกิดปัญหากับความร่วมมือจีน-ยุโรป
การเดินทางเยือนครั้งนี้ จีนได้ตีความประเด็นนี้ในหลายแง่มุม ส่งสัญญาณสนับสนุนเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มไปในทางดีในระยะยาว จีนกับยุโรปมีอนาคตที่สดใสในการอำนวยประโยชน์แก่กันและมีชัยชนะร่วมกัน เช่น การป้องกันความเสี่ยงกับความร่วมมือที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การไม่ร่วมมือจะถือเป็นความเสี่ยงใหญ่ที่สุดและไม่ปลอดภัยมากที่สุด การรับมือกับความท้าทายและความยากลำบาก ความร่วมมือเป็นทางออกเดียว และก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด คำกล่าวดังกล่าวได้ลดเสียงรบกวนของเวทีการเมืองยุโรป ส่งต่อเสียงที่มุ่งอำนวยประโยชน์แก่กันและมีชัยชนะร่วมกัน ซึ่งได้รับการตอบรับที่แข็งขันจากบรรดาผู้นำยุโรป
ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อพิพาทและความไม่แน่นอน จีนกับยุโรปสองฝ่ายควรแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ผนึกพลังรับรู้ร่วมกันแก้ปัญหาความแตกต่าง ผลักดันความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ให้มากขึ้น รับมือกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ระหว่างประเทศด้วยความมั่นคงของความสัมพันธ์จีน-ยุโรป ร่วมผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษย์
ปีนี้เป็นครบรอบ 20 ปีที่จีนกับยุโรปสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมทุกด้าน ที่ผ่านมา เนื่องจากจีนกับยุโรปมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ระดับการพัฒนาและอุดมการณ์ ฉะนั้น การมีความเห็นที่ต่างกันในประเด็นต่างๆก็เป็นเรื่องปกติ แต่จีนกับยุโรปไม่มีการปะทะกันด้านผลประโยชน์ที่เป็นฐานราก กลับมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะความร่วมมือ ประเด็นนี้ได้สะท้อนให้เห็นอย่างเต็มที่ในการเยือนยุโรปของนายกรัฐมนตรีจีนครั้งนี้ ร่วมคัดค้านตัดความเชื่อมโยงและห่วงโซ่ ยืนหยัดหลักการพหุภาคีนิยม จีนกับยุโรปจะได้ประโยชน์จากพัฒนาของกันและกัน ซึ่งก็สอดคล้องกับผลประโยชน์ทั่วโลกด้วย
เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)