“พลังแห่งความคิด” สี จิ้นผิง เสนอแผน: สร้าง “30 ปีทองคำ” ของการพัฒนาเอเชียแปซิฟิกในอนาคต
วันที่ 17 พฤศจิกายนตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำเอเปค ครั้งที่ 30 ที่จัดขึ้นที่นครซานฟรานซิสโก ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา 21 สมาชิกของเอเปคได้ร่วมกันสร้าง “ปาฏิหาริย์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก” ซึ่งเป็นที่จับตามองของทั่วโลก ในอนาคตเอเชียแปซิฟิกจะบรรลุ "30ปีทองคำ" ของการพัฒนาได้อย่างไร ปธน.สี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนได้เสนอแผนในการกล่าวสุนทรพจน์ แกนหลักก็คือการยึดมั่นในความร่วมมือที่เปิดกว้างและแสวงหาการพัฒนาร่วมกัน
“ปาฏิหาริย์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก” เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อ 30 ปีก่อน และเมื่อเผชิญกับคำถามที่ว่า "โลกจะไปในทางใด" หลังสงครามเย็นสิ้นสุดสง ภาคีของเอเปคต่างได้เลือกหนทางที่ถูกต้องทางประวัติศาสตร์นั่นคือเปิดกว้างเพื่อการพัฒนา ส่งเสริมความเสรีและความสะดวกสำหรับการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รักษาการเติบโตในระยะยาวและต่อเนื่อง ยอดการค้าคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของโลก ระดับภาษีโดยเฉลี่ยลดลงจาก 17% เหลือ 5% สร้างคุณูปการต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกให้สูงถึง 70% กลายเป็นแรงขับเคลื่อนของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก
อีก “ 30 ปีทองคำ” ในอนาคตจะพัฒนาไปอย่างไร? เป็นคำถามที่ ปธน.สี จิ้นผิง ตั้งเองในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำเอเปคว่า เราจะต้องคิดอย่างลึกซึ้งว่าจะนำเอเชียแปซิฟิกไปในทางในในการเข้าสู่ช่วงกลางศตวรรษนี้ จะสร้างอีก “30ปีทองคำ" ของการพัฒนาเอเชียแปซิฟิกในอนาคตอย่างไร?
ปธน.สี จิ้นผิงได้เสนอข้อเสนอแนะ 4 ประการในสุนทรพจน์ ได้แก่ ยึดมั่นในการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ยึดมั่นในแนวทางที่เปิดกว้าง ยึดมั่นในการพัฒนาสีเขียว และยึดมั่นในการแบ่งปันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดของการเปิดกว้าง ความร่วมมือ และการแสวงหาการพัฒนาร่วมกัน แนวคิดนี้เป็นแผนพื้นฐานของ ปธน.สี จิ้นผิง และเป็นข้อสรุปประสบการณ์การพัฒนาของเอเชียแปซิฟิกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
เราสังเกตเห็นว่าแนวคิดและข้อเสนอของ ปธน.สี จิ้นผิงหลายประการได้กลายเป็นฉันทามติระหว่างประเทศ และยังสะท้อนให้เห็นในแถลงการณ์ซานฟรานซิสโกครั้งนี้อีกด้วย นั่นคือเราเน้นย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างสิ่งแวดล้อมการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดสู่ภายนอก ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส เปิดกว้างและคาดการณ์ได้ มุ่งมั่นที่จะรักษาการเปิดตลาด และการแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก เสริมสร้างความเชื่อมโยงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การแลกเปลี่ยนทางนโยบาย และการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ส่งเสริมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และมุ่งมั่นในการเปลี่ยนรูปแบบด้านดิจิทัล