ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนยกระดับสูงขึ้นอีกขั้น ในที่ประชุมรำลึกการสถาปนาความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียนครบรอบ 30 ปี ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จีนกับอาเซียนประกาศอย่างเป็นทางการว่า 2 ฝ่ายความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รอบด้านระหว่างจีน-อาเซียน
เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1991 จีนกับอาเซียนเปิดกระบวนการเจรจา ลุถึง ค.ศ. 2010 เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเริ่มดำเนินการอย่างรอบด้านและทางการ ต่อมาในปี 2013 จีนกับอาเซียน “จับมือกันสร้างสรรค์ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันชนิดที่แนบแน่นยิ่งขึ้น” ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ความสัมพันธ์แบบคู่เจรจา หุ้นส่วนการหารือ หุ้นส่วนการเจรจาอย่างรอบด้าน หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ มาสู่ความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน จีนกับอาเซียนร่วมกันยกระดับและคุณภาพการพัฒนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนทางการดำเนินความร่วมมือสู่ผลประโยชน์ร่วมกันยิ่งเดินหน้าก็ยิ่งกว้างขึ้น
นายเส่ว์ หนิงหนิง ประธานสภาธุรกิจการค้าจีน-อาเซียน (CABC) กล่าวว่า “ปี 2020 จีนกับอาเซียนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดต่อกัน เมื่อ 30 ปีก่อน ยอดการค้าจีน-อาเซียนต่ำมาก มีเพียง 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน ค.ศ. 1991 ขณะนี้เติบโตถึง 680,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก 8,000 ล้านสู่ 680,000 ล้าน ยอดการค้าจีน-อาเซียนล้ำหน้ายอดการค้าจีน-ยุโรป และยอดการค้าจีน-สหรัฐอเมริกา แสดงว่า ความร่วมมือจีน-อาเซียนมีระดับสูงยิ่งขึ้น
ด้วยความเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดสู่ภายนอกระดับสูง การส่งออกเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจอาเซียน ขณะเดียวกันสินค้าที่มีเอกลักษณ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่งออกมายังจีนทำให้ตลาดจีนมีความหลากหลายและสมบูรณ์แบบมากขึ้นอย่างยิ่ง รวมทั้งผลไม้เมืองร้อน สินค้าอันเป็นดาราในการค้าผลิตผลเกษตรระหว่างจีน-อาเซียน
เมืองผิงเสียง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี เป็นด่านรับส่งสินค้าขนาดใหญ่สุดสำหรับการค้าผลไม้จีน-อาเซียน ทุก 2 กล่องผลไม้เมืองร้อนที่จีนนำเข้าจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ย่อมมี 1 กล่องผ่านด่านศุลกากรที่นี่
แหล่งข่าวแจ้งว่า ด่านผิงเสียงเริ่มดำเนินระบบผ่านด่านดิจิทัลทางรถไฟออนไลน์จีน-อาเซียน ทำให้เวลาพิจารณาจัดการใบแจ้งที่ยื่นต่อหน่วยงานศุลกากรนั้น ลดลงจาก 3 - 4 ชั่วโมงในอดีต มาเหลือเพียงไม่ถึง 3 นาทีเท่านั้น จึงยกประสิทธิภาพการผ่านด่านขนส่งกับการค้าข้ามชาติทางรถไฟเป็นอีกขั้นหนึ่ง แถมยังประหยัดต้นทุนการขนส่งอีกด้วย ทำให้ผลไม้จากประเทศอาเซียนเข้าสู่ตลาดจีนได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
ชาวเมืองหนันหนิงซึ่งเป็นผู้หญิงแซ่หวงคนหนึ่งบอกว่า “ในอดีตถ้าอยากกินผลไม้เมืองร้อนให้อิ่มท้องอิ่มใจให้ได้ ก็ต้องเดินทางไปประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัดนี้ไม่ต้องแล้ว กินที่ไหนก็ได้ในประเทศจีนเอง”
ผลไม้สดจากประเทศอาเซียนที่แจ้งด่านและผ่านด่านที่เมืองผิงเสียงในเขตกว่างสีของจีน ถูกส่งต่อไปยังกรุงปักกิ่ง เมืองเจิ้งโจว นครฉงชิ่ง และเมืองซีอาน ระบบการขนส่งนับวันยิ่งดำเนินการได้สะดวกและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสร้างสรรค์ช่องทางทางบกและทางทะเลใหม่ในภาคตะวันตกของจีน ปัจจุบัน การรวมขนส่งทั้งทางรถไฟกับทางเรือผ่านช่องทางนี้ และการใช้งานทั้งของทางหลวงข้ามแดนและทางรถไฟข้ามชาตินั้น ล้วนดำเนินการไปเป็นปกติ โดยสร้างสถานีรับส่งสินค้าตามรายทางครอบคลุม 43 เมืองตาม 12 เขตบริหารราชการระดับมณฑลของจีน ขณะที่จำนวนชนิดสินค้าขนส่งก็ทะลุ 500 ชนิด ซึ่งมีเครือข่ายโลจิสติกส์กระจายตาม 304 เมืองท่าใน 105 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก
ศาสตราจารย์ ไจ๋ คุน จากวิทยาลัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีน ระบุว่า “เมื่อก่อนเขตบริหารราชการระดับมณฑลของจีนที่ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เขตกว่างซี มณฑลหยุนหนาน ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) กว่างตง และไห่หนาน (เกาะไหหลำ) ติดต่อสัมพันธ์กับเอเชียตะวันออกค่อนข้างบ่อยครั้ง และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าค่อนข้างใกล้ชิด ทว่าขณะนี้สภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิง นั่นก็คือทุกเขตบริหารราชการระดับมณฑลของจีนล้วนสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับอาเซียน โดยเฉพาะหลังมีขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเป็นประจำจีน-อาเซียน และช่องทางใหม่ทางบกและทางทะเลในภาคตะวันตกของจีนเปิดให้บริการ ประกันให้ท้องที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากับอาเซียน ทำให้ตลาดการส่งออกของอาเซียนเติบโตใหญ่ขึ้นทุกที ส่งผลให้ทั่วทั้งภาคกลางและภาคตะวันตกของจีนกลายเป็นเป้าหมายการค้าและการส่งออกขนาดกว้างใหญ่ไพศาลของอาเซียน”
ระบบการคมนาคมที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วและสะดวกกระตุ้นให้การค้าจีน-อาเซียนนับวันคึกคักยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ผลไม้จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกส่งออกมายังจีนเท่านั้น ผลิตผลการเกษตรคุณภาพดีของจีนก็กระจายสู่ตลาดอาเซียนอย่างราบรื่น
นายเส่ว์ หนิงหนิง อธิบายว่า “ช่วงราว 8 ปีที่ผ่านมา การร่วมสร้างสรรค์ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ อำนวยให้เรา (จีน-อาเซียน) บรรลุการเชื่อมต่อแบบครบชุด รวมทั้งนโยบาย การค้า โครงสร้างพื้นฐาน เงินตรา การผสมผสาน การแลกเปลี่ยน การเดินคล่องทั้งหมดนี้ทำให้ความร่วมมือจีน-อาเซียนนั้น มีรากฐานที่ดีมากสำหรับรับมือความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในอนาคต”
สุนทรพจน์ที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีน กล่าวต่อที่ประชุมสุดยอดเพื่อรำลึกการครบรอบ 30 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์แบบคู่เจรจาจีน-อาเซียนนั้น ระบุว่า ต้องแสดงบทบาทของ “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)” อย่างรอบด้าน เปิดดำเนินการสร้างสรรค์เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนฉบับ 3.0 เท่าที่จะเร็วได้ ยกระดับความเสรีและความสะดวกทางการค้ากับการลงทุน ซึ่ง RCEP จะเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2022 ตามกำหนด
นายเส่ว์ หนิงหนิง เน้นว่า “นี่หมายความว่า เขตการค้าเสรีขนาดใหญ่สุดในโลกจะประจักษ์ให้เป็นจริงขึ้นมา ไม่เพียงแต่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกประเทศในภูมิภาคนี้ให้เติบโตเท่านั้น หากยังทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจส่วนภูมิภาคในลักษณะอันหนึ่งอันเดียวกันได้รับการค้ำชูอย่างทรงพลัง การปฏิบัติตาม RCEP ย่อมอัดฉีดชีวพลังแก่การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในยามนี้”
ปัจจุบัน จีนกับอาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุด หุ้นส่วนความร่วมมือที่มีพลังคึกคักมากที่สุด และหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่มีความเป็นนัยอุดมสมบูรณ์ที่สุดต่อกัน พร้อม ๆ ไปกับการลงมือเดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านให้บังเกิดผลสำเร็จที่แท้จริง ประชาคมที่มีโชคชะตาร่วมกันจีน-อาเซียน กำลังแนบแน่นยิ่งขึ้นทุกขณะ ย่อมมีจังหวะก้าวที่แม่นยำและประสบความสำเร็จสมบูรณ์งดงามในอนาคต