เมล็ดพันธุ์ข้าวเจ้าที่ส่งไปอวกาศพร้อมยานฉางเอ๋อ-5 มีแนวโน้มเติบโตได้ดีและเป็นต้นอ่อนที่สมบูรณ์ เช้าวันที่ 29 มีนาคม เจ้าหน้าที่และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยการเกษตรหวาหนานได้ย้ายต้นอ่อนข้าวเจ้าอวกาศเหล่านี้ออกจากเรือนกระจกไปยังแปลงนากลางแจ้ง
เมล็ดพันธุ์ข้าวเจ้าที่เดินทางไปพร้อมกับยานฉางเอ๋อ-5 นั้น เสนอโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมพันธุ์พืชการบินแห่งชาติ มหาวิทยาลัยการเกษตรหวาหนาน รวม 40 กรัม เมล็ดพันธุ์เหล่านี้เดินทางในอวกาศเป็นเวลา 22 วัน 21 ชั่วโมง โดยกลับถึงโลกพร้อมกับยานฉางเอ๋อ-5 เมื่อปลายปี 2020 การเดินทางของฉางเอ๋อ-5 ครั้งนี้ บรรทุกเมล็ดพันธุ์เพื่อทดลองการกลายพันธุ์ในอวกาศห้วงลึกเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่มีรังสีสลับซับซ้อน ซึ่งอาจก่อเกิดสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีความหลากหลาย
ต้นข้าวเจ้าอวกาศรุ่นนี้บรรจุในถ้วยแก้วชั่วคราวเพื่อนำไปปลูกในฐานวิจัยวิทยาศาสตร์ในเจิงเฉิงซึ่งเป็นของมหาวิทยาลัยฯ ฐานดังกล่าวห่างจากใจกลางเมืองกวางโจวประมาณ 46 กิโลเมตร มีพื้นที่ป่า 1,270 โหม่ว แปลงนาแห้ง 1,563 โหม่ว แปลงนาข้าวน้ำ 800 โหม่ว และพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 230 โหม่ว ขณะที่ข้าวเจ้าอวกาศได้ลงปลูกในแปลงนาในเวลาประมาณ 10.00 น. วันที่ 29 มีนาคม
การทดลองครั้งนี้มีความหวังช่วยมนุษย์ให้เข้าใจกลไกการสืบทอดพันธุกรรมจากสิ่งแวดล้อมในอวกาศลึกของข้าวเจ้า อันมีบทบาทต่อการค้นหาต้นกำเนิดของสิ่งชีวิต ความก้าวหน้าของสิ่งมีชีวิต และความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตระหว่างการบินอวกาศ ได้รับพันธุกรรมใหม่ที่มีคุณภาพดีและมีคุณค่า ก่อรูปขึ้นเป็นระบบเทคโนโลยีประยุกต์ใช้พันธุกรรมสำคัญ มีส่วนช่วยต่อการเพาะปลูกข้าวเจ้า คัดเลือกข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ที่มีปริมาณผลผลิตสูง มีคุณภาพดี ต้านโรคพืชได้ดี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนองความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตที่หลากหลาย ยกระดับความมั่นคงทางธัญญาหารของจีนให้สูงขึ้นด้วยการศึกษาวิจัย ตลอดจนการดำเนินความร่วมมือและเผยแพร่