บทวิเคราะห์ : การแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างจีน-สหรัฐฯ ส่งสัญญาณ 3 ประการ

2021-03-22 15:57:14 |แหล่งที่มา: CRI

วันที่ 19 มีนาคม ตามเวลาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงยุทธศาสตร์ในระดับสูงระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ดำเนินการมาเป็นเวลา 2 วัน ได้สิ้นสุดลงที่เมืองแองเคอเรจ รัฐอะลาสกาของสหรัฐฯ นับเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองประเทศพูดคุยกันต่อหน้าหลังประธานาธิบดี โจ ไบเดน เข้ามาบริหารประเทศ จากข้อมูลข่าวสารที่ฝ่ายจีนแถลงหลังเสร็จสิ้นการแลกเปลี่ยนระบุว่า จีน-สหรัฐฯ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ลงลึกในรายละเอียดและมีลักษณะสร้างสรรค์ในประเด็นต่าง ๆ เช่น นโยบายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศของแต่ละฝ่าย ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ตลอดจนปัญหาระหว่างประเทศและภูมิภาคที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจ โดยต่างเห็นว่าการแลกเปลี่ยนความเห็นครั้งนี้จัดขึ้นในเวลาที่เหมาะสม ทันต่อสถานการณ์ เป็นประโยชน์ และเพิ่มความเข้าใจระหว่างกัน อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นต่างในบางประเด็น 

เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดที่แล้วได้ใช้นโยบายต่อต้านจีนอย่างสุดโต่ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับอุปสรรคมาก หลังรัฐบาลของนายโจ ไบเดนเข้ามาบริหารประเทศ ผู้นำจีน-สหรัฐฯ ได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา และได้แสดงให้เห็นแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในช่วงเวลาหนึ่งในอนาคตอย่างชัดเจน การที่จีนเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงยุทธศาสตร์ในระดับสูงครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของสหรัฐฯ เป็นไปตามการตัดสินนโยบายด้วยตนเองของผู้นำทั้งสองประเทศ 

จีนได้เดินทางเพื่อเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนความเห็นในครั้งนี้ด้วยความจริงใจ โดยได้แสดงจุดยืน และสิ่งที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษอย่างจริงจังและตรงไปตรงมา โดยได้ส่งสัญญาณ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ 

ประการแรกการเดินทางไปสหรัฐฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหา ไม่ใช่สร้างปัญหาหรือทะเลาะเบาะแว้งกับใคร แต่เมื่อเผชิญกับการกล่าวหาอย่างไม่มีเหตุผล และประพฤติที่ไม่เหมาะสมของฝ่ายสหรัฐฯ ระหว่างการแลกเปลี่ยน ฝ่ายจีนจึงได้ตอบโต้อย่างมีเหตุผล และได้ขีดเส้นแดง ชี้ชัดสิ่งที่จีนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นตั้งใจที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ของจีนในการปกป้องอธิปไตย ความมั่นคง และประโยชน์แห่งการพัฒนาของประเทศชาติ 

ประชาคมโลกสังเกตเห็นว่า ก่อนและหลังจัดการแลกเปลี่ยนฯ ในครั้งนี้ สหรัฐฯ มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดการประชุมระหว่างสหรัฐฯ อินเดีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น จัดการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น แบบ 2+2 และนำเสนอข่าวเกี่ยวกับภัยคุกคามจากจีนจำนวนมาก อีกทั้งยังมีประพฤติที่ไม่มีมารยาททางการทูตในระหว่างแลกเปลี่ยนความเห็นกับจีน เช่นได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดประชุมยาวกว่าที่กำหนดไว้อย่างมาก และกล่าวหานโยบายทั้งในประเทศและต่างประเทศของจีนอย่างไร้เหตุผล การเคลื่อนไหวดังกล่าวของสหรัฐฯมีวัตถุประสงค์ที่จะวางเดิมพันเพิ่มเพื่อต่อรองกับจีน และสร้างความได้เปรียบในการแลกเปลี่ยนความเห็น รวมทั้งตอบรับความต้องการทางการเมืองภายในประเทศ   

ซึ่งการกระทำดังกล่าวจีนมองว่าสหรัฐอยากแสดงให้เห็นว่าตนเองฉลาด แต่สุดท้ายไม่แสดงออกว่าชาญฉลาด กลอุบายทางการเมืองของนักการเมืองสหรัฐฯ บางคนทำให้ประชาคมโลกเห็นฉากหนึ่งที่ถืออำนาจบาตรใหญ่ของสหรัฐฯ ถูกตอบโต้ต่อหน้าอย่างหนัก 

ฝ่ายจีนชี้ชัดระหว่างการแลกเปลี่ยนว่าจีนไม่ยอมให้ใครทำลายฐานะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการปกครองประเทศ และความมั่นคงในระบบของจีน ปัญหาไต้หวัน ฮ่องกง ซินเจียง และทิเบตเป็นกิจการภายในของจีน คัดค้านการแทรกแซงจากภายนอกอย่างเด็ดขาด สิ่งเหล่านี้เป็นเส้นแดงที่จีนขีดไว้ สหรัฐฯ ไม่ควรมีการตัดสินเชิงยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดอีกครั้งต่อการนี้

ประการที่ 2 แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความเห็นต่างในบางประเด็นสำคัญ แต่จีนยังคงพยายามให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในประเด็นต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม และได้บรรลุความเห็นพ้องฯ กันในระดับหนึ่งในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าจีนมีความรับผิดชอบอย่างสูงต่อประโยชน์ของจีน-สหรัฐฯ และทั่วโลก 

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นหลายครั้งว่า หากจีน-สหรัฐฯ ร่วมมือกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์ หากปะทะกันต่างก็จะได้รับความเสียหาย ด้วยเหตุนี้จีนและสหรัฐฯ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นปัญหาต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้า การทหาร การบังคับใช้กฎหมาย บุคลากร วัฒนธรรม สาธารณสุข ความมั่นคงทางไซเบอร์ ทั้งสองฝ่ายต่างแสดงว่าจะทุ่มเทกำลังในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างจีน-สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นปัจจัยทางบวกในการแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงยุทธศาสตร์ในระดับสูงระหว่างจีน-สหรัฐฯ ครั้งนี้ ซึ่งสอดคล้องกับประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือในขั้นต่อไปต้องยึดหลักเคารพซึ่งกันและกัน และปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม จีนปฏิเสธที่จะต้องทำตามสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการโดยลำพังฝ่ายเดีย และไม่ยอมให้สหรัฐฯ มาแสดงอำนาจเหนือจีน

ประการที่ 3 จีนได้แสดงความเห็นอย่างชัดเจนถึงแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหญ่ และจะรักษากลไกพหุภาคีที่แท้จริงอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ช่วงต้นที่รัฐบาลของนายโจ ไบเดนเข้ามาบริหารประเทศเคยแถลงว่า “การทูตของสหรัฐฯ กลับมาแล้ว” แต่สังเกตดูวิธีการบริหารประเทศในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่า กลไก “พหุภาคี” ของสหรัฐฯ นั้นแท้จริงแล้วเป็นการเมืองของกลุ่มประเทศจำนวนน้อย ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก 

ระหว่างการแลกเปลี่ยนความเห็นในครั้งนี้ จีนย้ำว่าต้องรักษาระบบสากลที่ถือสหประชาชาติเป็นแกนนำ และระเบียบระหว่างประเทศบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่วแน่ ไม่ใช่ระเบียบบนพื้นฐานกฎข้อบังคับที่กำหนดขึ้นโดยไม่กี่ประเทศ ในขณะเดียวกันจีนชี้ว่ากลไกพหุภาคีที่แท้จริงนั้นต้องเคารพอธิปไตยของทุกประเทศในโลก เคารพความหลากหลายด้านอารยธรรม และทุ่มเทกำลังในการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ควรแบ่งฝักแบ่งฝ่ายไม่กี่ประเทศ ไม่ควรใช้วิธีเดิม ๆ แบ่งพรรคแบ่งพวกตามภาวะจิตสำนึก และไม่ควรทำให้เกิดการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกลุ่มประเทศ