การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 13 ครั้งที่ 4 จัดการประชุมใหญ่ครั้งที่สอง

2021-03-10 15:29:17 |แหล่งที่มา: ไชน่ามีเดียกรุ๊ป

บ่ายวันที่ 8 มีนาคม การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 13 ครั้งที่ 4 จัดการประชุมใหญ่ครั้งที่สอง ที่มหาศาลาประชาชน ในกรุงปักกิ่ง การรับฟังและตรวจสอบรายงานการทำงานของคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน รายงานการทำงานของศาลประชาชนสูงสุด และสำนักงานอัยการประชาชนสูงสุด

นายลี่ จ้านซู ประธานคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน ได้รับการมอบอำนาจจากคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน รายงานการทำงานของคณะกรรมการฯ ต่อที่ประชุม โดยในรายงานระบุว่า ตั้งแต่การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 13 ครั้งที่ 3 คณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน ตรากฎหมาย 9 ฉบับและแก้ไขกฎหมาย 13 ฉบับ มีการตัดสินด้านนิติบัญญัติและประเด็นสำคัญ 8 ประเด็น มีคดีทางกฎหมาย 23 คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณา รับฟังและตรวจสอบรายงาน 35 ฉบับ  ตรวจสอบสภาพการดำเนินงานตามคำตัดสิน 1 ครั้ง และกฎหมาย 6 ฉบับ สอบถามหัวข้อพิเศษ 2 ครั้ง ทำการวิจัยข้อพิเศษ 6 โครงการ มีการตัดสินใน 1 โครงการ ตัดสินใจที่จะให้สัตยาบันหรือยอมรับในสัญญา 7 ฉบับ พิจารณาและอนุมัติการแต่งตั้งและถอดถอน 39 กรณี การแต่งตั้งและถอดถอนพนักงานระดับชาติ 259 คน ตามกฎหมาย

นายโจว เฉียง (Zhou Qiang) ประธานศาลประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสรุปงานในปี 2020 จาก 7 ด้าน 1.รักษาความมั่นคงของชาติและเสถียรภาพทางสังคมอย่างแน่วแน่ 2.ให้บริการต่อการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงอย่างกระตือรือร้น 3.ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ 4.สร้างกลไกระงับข้อพิพาทและบริการดำเนินคดีแบบครบวงจร 5.พยายามปฏิรูประบบตุลาการให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 6. สร้างทีมศาลที่ซื่อสัตย์และมีความสามารถ 7.มีสติยอมรับการกำกับดูแล

นายจาง จุน หัวหน้าสำนักงานอัยการประชาชนสูงสุดจีน ทบทวนงานในปี 2020 จาก 5 ด้าน 1.มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างแข็งขัน ส่งเสริมธรรมาภิบาลของจีนด้วยการรับประกันในอำนาจนิติบัญญัติ 2.บูรณาการอย่างแข็งขันในการพัฒนา ทำงานด้านอัยการเพื่อช่วยสร้างสังคมกินดีอยู่ดีรอบด้าน 3.ส่งเสริม "อัยการ 4 ด้าน" อย่างเต็มที่ รักษาความเป็นธรรมและความยุติธรรมด้วยระบบนิติบัญญัติ 4.เข้าใกล้หัวใจของประชาชนซึ่งเป็นการเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจีน ส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยการทำงานในระบบนิติบัญญัติ 5.พัฒนางานในระบบนิติบัญญัติเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย