โดยคุณจู เจิ้นหมิง นักวิชาการรับเชิญ
ปีนี้เป็นปีครบรอบ 45 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อ 45 ปีก่อน ความสัมพันธ์จีน - ไทยก็ได้พัฒนาอย่างมั่นคงและแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง วันนี้จีนและไทยได้สร้างหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงกลยุทธ์รอบด้าน
หลังจากสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย ก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันในเชิงกลยุทธ์ของทั้งสองประเทศลึกซึ้งอย่างต่อเนื่อง จีน-ไทยมีการแลกเปลี่ยนในระดับสูงอยู่บ่อยครั้ง และมีการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนในระดับต่าง ๆ มาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารและความเข้าใจซึ่งกันและกันและเสริมสร้างฉันทามติร่วมกัน ในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและไทยมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นับจากก่อตั้งความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้น ปริมาณการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้นจาก 20 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 91,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2562 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 3,700 เท่า ประเทศจีนกลายเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งที่มาของเงินทุนต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ ประเทศจีนและไทยยังได้ร่วมมือในการเปิดสถาบันขงจื๊อขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย ทุก ๆ ปี มีนักเรียนจากทั้งสองประเทศเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศของอีกฝ่ายนับหลายหมื่นคน ยังผลให้ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน - ไทยประสบผลสำเร็จมากมาย นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด-19 จีนและไทยได้ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อสู้กับโรคระบาด ร่วมเขียนมิตรภาพที่ลึกซึ้งในยุคใหม่ของ “ไทย-จีน ใช่อื่นไกลพี่น้องกัน"
มณฑลยูนนานมีบทบาทสำคัญในด้านความสัมพันธ์จีน - ไทย ยูนนานและไทยมีความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์ นับตั้งแต่มีการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย ยูนนานและไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ด้วยการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้างและแม่น้ำโขง รวมถึงการเปิดเส้นทางคุนหมิง - กรุงเทพฯ (R3A) ทำให้ยูนนานเป็นมณฑลเดียวในจีนที่สามารถเข้าสู่ประเทศไทยได้ทั้งทางบกทางน้ำและทางอากาศ หลังจากเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การจราจรของประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออก และมณฑลยูนนานได้กลายเป็นช่องทางการส่งออกที่สะดวกสำหรับสินค้าไทยที่จะส่งออกไปยังจีน นอกจากนี้ชนชาติไตในยูนนานยังมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับชนชาติไตในประเทศไทย พวกเขามีประเพณีการดำรงชีวิตและภาษาที่คล้ายคลึงกันซึ่งเอื้อต่อการอนุรักษ์และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติพันธุ์
ยูนนานยังเป็นสถานที่ที่นักเรียนไทยใฝ่ฝันอยากมาร่ำเรียนอีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ด้วยการจัดตั้งกลไกคณะทำงานความร่วมมือยูนนาน - และภาคเหนือของไทยได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างยูนนานและภาคเหนือของไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว และการขนส่ง ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างมณฑลยูนนานและประเทศไทยซึ่งมีข้อได้เปรียบมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศจีน
จากการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ซึ่งครบรอบ 45 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างดีถึงความสัมพันธ์จีน-ไทย และเป็นตัวอย่างของมิตรภาพที่ดีของเพื่อนบ้าน และความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศที่มีระบบสังคมที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์จีน - ไทยเป็นยุทธศาสตร์ที่มั่นคงและมีความสำคัญ “ไทย-จีน ใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” ได้ฝังรากลึกลงในหัวใจของประชาชน สิ่งนี้ได้ สร้างโอกาสและพื้นที่ว่างมากขึ้นสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทย และความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างมณฑลยูนนานและไทยต่อไป
ในบริบทของการป้องกันและควบคุมโรคระบาดความร่วมมือระหว่างไทยและยูนนานยังคงมีโอกาสกว้าง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์จากการประชุมครั้งแรกของกลไกการเจรจาระดับรัฐมนตรี เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัลจีน - ไทย 2019 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคุนหมิงและได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันหลายประการ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างยูนนานและไทยในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ แอปพลิเคชันแบบบูรณาการ ซอฟต์แวร์และบริการไอที และความร่วมมือด้านอื่น ๆ รวมถึงการเร่งการสร้าง "ดิจิทัลยูนนาน" การรวมยุทธศาสตร์ "Thailand 4.0" เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจยูนนานในการสร้าง "ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก" ในประเทศไทย ในขณะเดียวกันยังได้ดึงดูดการลงทุนจากไทยเข้ายูนนานอย่างแข็งขัน เสริมสร้างการส่งออกดอกไม้ผักผลไม้และผลิตภัณฑ์เด่นอื่น ๆ ของยูนนานมายังประเทศไทย อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้สินค้าไทยเข้าสู่ยูนนานมากขึ้นอีกด้วย หลังจากโรคระบาดคลี่คลายลง จะขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างยูนนานและไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างยูนนานกับเชียงใหม่และเชียงราย สร้างแวดวงการท่องเที่ยวยูนนานและภาคเหนือของไทย และยังได้ร่วมหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างยูนนานและไทยในด้านการศึกษา สุขภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังแสดงบทบาทของกลไกคณะทำงานความร่วมมือยูนนานและภาคเหนือของประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ ช่วยเสริมสร้างการสื่อสารกับไทย และส่งเสริมความร่วมมือในเชิงปฏิบัติระหว่างมณฑลยูนนานและไทยให้ก้าวไปสู่ระดับใหม่
ผู้เขียน นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (คุนหมิง) จีน