เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยเสื่อมสภาพลง แหล่งอาหารลดน้อยลง ประกอบกับการห้ามล่าสัตว์โดยผิดกฎหมายที่ตรวจสอบได้ยาก ในฐานะเป็นสัตว์บนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเอเชียและใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ช้างเอเชียซึ่งกระจายตัวในวงกว้างแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
มณฑลยูนนานได้ดำเนินมาตรการอนุรักษ์ช้างเอเชีย เขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติสิบสองพันนา มณฑลยูนนาน ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1958 ในขณะนั้น ด้วยตระหนักว่าช้างเอเชียของจีนกำลังอยู่ในช่วงใกล้จะสูญพันธุ์ รัฐบาลในแต่ละระดับจึงได้ประกาศใช้มาตรการเพื่ออนุรักษ์เชิงช่วยชีวิตและมาตรการการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้น มณฑลยูนนานยังได้ตั้งเขตอนุรักษ์ขึ้นอีกสิบกว่าแห่งในพื้นที่แถบร้อนที่ช้างเอเชียกระจายตัวอยู่ ก่อร่างเป็นเครือข่ายอนุรักษ์ช้างเอเชียที่ยึดเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติเป็นหลัก และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับท้องถิ่นเป็นตัวเสริม เป็นที่พักพิงคุ้มครองช้างเอเชีย
ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา พร้อม ๆ กับการดำเนินการโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ เช่น การอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ สภาพแวดล้อมระบบนิเวศน์ของยูนนานได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน ก็ได้มีการเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการการช่วยเหลือและอนุรักษ์ช้างเอเชียด้วย แคว้นสิบสองพันนา เมืองผูเอ่อ และเมืองหลินชาง ฯลฯ ก็ได้ปรับปรุงมาตรการการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่พักพิงของช้างเอเชียอย่างต่อเนื่อง เร่งดำเนินการช่วยเหลือและรับเลี้ยงช้างเอเชีย ปราบปรามพฤติกรรมผิดกฎหมายในการล่าช้างเอเชียอย่างเข้มงวด ซึ่งการอนุรักษ์ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน
เนื่องจากโขลงช้างบางโขลงมักจะเคลื่อนไหวตามแนวชายแดน หลายปีมานี้ ประเทศจีนจึงได้กระชับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการอนุรักษ์ช้างป่าด้วยกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 จนถึงปัจจุบัน แคว้นสิบสอง-พันนา มณฑลยูนนานกับพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสปป. ลาว ได้ดำเนินความร่วมมือพื้นที่อนุรักษ์ร่วมข้ามแดนในบริเวณชายแดนรวมความยาวประมาณ 220 กิโลเมตร พื้นที่รวม 133 ตารางกิโลเมตร องค์กรบริหารจัดการพื้นที่เขตอนุรักษ์ของสองประเทศยังได้ร่วมกันทำการสำรวจพันธุ์ช้างป่าร่วมกันหลายครั้ง รวมถึงการลาดตระเวนอนุรักษ์ร่วม และการฝึกอบรมเทคนิคบุคลากร เป็นต้น
“พวกเราประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์ที่พักพิงของสัตว์ป่าหายากและที่ใกล้สูญพันธุ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีช้างเอเชียเป็นหลัก ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าฝนแถบร้อนในภูมิภาค” นายหลี่ จงหยวน ผู้อำนวยการสถานีอนุรักษ์พืชและสัตว์ป่าสำนักงานกิจการป่าไม้และทุ่งหญ้าสิบสองพันนาให้ข้อมูลว่า ความร่วมมือดังกล่าวได้กลายเป็นแบบอย่างความสำเร็จสำหรับการอนุรักษ์ข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
จนถึงปลายปี ค.ศ. 2019 ปริมาณช้างป่าเอเชียของยูนนานเพิ่มขึ้นจากต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980 จำนวน 193 ตัว เป็น 293 ตัวในปัจจุบัน อัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 52 สิ่งที่น่ายินดีก็คือ ในภาวะที่ปริมาณช้างป่าทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่องนี้ ปริมาณช้างป่าเอเชียของจีนกลับเพิ่มจำนวนขึ้นในเชิงพื้นฟู ช้างป่าที่เร่ร่อนไร้ที่อยู่ได้พบกับสวรรค์ที่หายากในมณฑลยูนนานประเทศจีน