จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ไทยระบุว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนคิดเป็น 66.94% ของปริมาณการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของประเทศไทย นายกสมาคมผู้ประกอบการและธุรกิจส่ง-ออกผลไม้ไทยคาดว่า ในปีนี้ มูลค่าการส่งออกผลไม้ไทยจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10%
จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย เป็นเมืองแห่งผลไม้ที่มีชื่อเสียงของไทย ลำไยที่ผลิตออกจากที่นี่มีคุณภาพดี และส่วนใหญ่จะส่งออกไปขายที่ประเทศจีน บริษัทนำเข้า-ส่งออกสินค้าจินกั่วหยวน (ไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกลำไยสดแห่งหนึ่งของไทย ปัจจุบันบริษัทแห่งนี้ได้พัฒนากลายเป็นฐานปลูกลำไยที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกของไทย ทุกปี จะมีปริมาณลำไย 80,000-100,000 ตัน ส่งออกไปขายที่ต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน สิงคโปร์ เป็นต้น
ในช่วงเก็บเกี่ยวของทุกปี ต้องใช้คนงานราว 3,000-4,000 คน ในการเก็บลำไย โดยคนงานส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานต่างชาติ ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 บริษัทฯ ได้จัดตั้งทีมป้องกันและควบคุมโรคระบาด เพื่อวัดอุณหภูมิของคนงานทุกคนที่เข้ามาภายในโรงงาน และต้องสวมหน้ากากตลอดการทำงาน รวมถึงใช้มาตรการฆ่าเชื้อ เป็นต้น
คุณบานทอง แรงงานจากกัมพูชากล่าวว่า “หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ผมและเพื่อน ๆ เลือกที่จะทำงานที่นี่ต่อ เราเชื่อว่าบริษัทจะสามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดได้ และการตัดสินใจของเราเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หลายเดือนมานี้ บริษัทของเราไม่พบผู้ติดเซื้อแม้แต่รายเดียว และบริษัทยังจ่ายเงินเดือนให้เราเป็นปกติด้วย”
เกษตรกรชาวสวนทุเรียนของจังหวัดจันทบุรีกล่าวว่า “ทุเรียนของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่จะถูกพ่อค้าจีนสั่งจองล่วงหน้า ผู้ค้าชาวจีนมีปริมาณสั่งซื้อจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรชาวสวน พ่อค้า และผู้ส่งออกล้วนมีรายได้กันถ้วนหน้า”
และเพื่อให้ผลไม้ไทยสามารถเข้าตลาดจีนได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศจีนได้เพิ่มด่านตงซิง และด่านรถไฟผิงเสียง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี รวม 3 ด่าน ซึ่งสามารถนำเข้าผลไม้ไทยเข้าตลาดจีนผ่านทางประเทศที่สามได้
รองรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยกล่าวว่า “การแพร่ระบาดของเซื้อโควิด-19 สร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย ในช่วงเวลาที่ลำบากนี้ ผู้ประกอบการชาวจีนและเกษตรกรชาวสวนต่างไม่ทอดทิ้งกัน และร่วมฟันฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน ช่างเป็นมิตรภาพที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง”