จีน-ไทยร่วมไขปริศนาดีเอ็นเอชาติพันธ์ในโลงศพแขวน

2020-05-11 17:39:51 |แหล่งที่มา: Lancang-Mekong party

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสัตว์คุนหมิงของสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน และสถาบันวิจัยโบราณคดีมณฑลยูนนาน และมหาวิทยาลัยศิลปากรของไทย ได้ร่วมมือกันใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแยกแยะ DNA โบราณ ทำการศึกษาวิจัย 41 ตัวอย่างซากโครงกระดูกมนุษย์จากโลงศพแขวนจำนวน 13 โลง จากอำเภอเวยซิ่นและอำเภอเยียนจิน เมืองจาวทงของมณฑลยูนนาน รวมถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำโย่วเจียงในกว่างซีและอำเภอปางมะผ้าของไทย โดยได้ทำการวิเคราะห์ลำดับ DNA ไมโทคอนเดรีย เผยประวัติแหล่งกำเนิดของการฝังศพโลงแขวน

การฝังแบบแขวนโลงศพ คือ ประเพณีการปลงศพโดยการนำเอาโลงศพไม้แขวนไว้บนหน้าผาสูงติดทะเล ภูเขาหรือริมแม่น้ำ ตลอดจนในถ้ำและในช่องปล่องต่าง ๆ ซึ่งกระจายอยู่ในวงกว้างแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงและทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำดังกล่าว และกระจายตัวอยู่ค่อนข้างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงเกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ในฐานะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโบราณคดีและประเพณีการปลงศพที่ค่อนข้างแปลกและเก่าแก่ วัฒนธรรมการฝังศพบนโลงแขวนจึงได้รับความสนใจจากวงการโบราณคดีมาโดยตลอด

การวิจัยค้นพบว่า ตระกูลการถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านมารดาของบรรดาโลงศพแขวนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของยูนนานมีความหลากหลายค่อนข้างมาก ส่วนการถ่ายถอดพันธุกรรมของชาติพันธุ์โลงศพแขวนทางภาคเหนือของไทยมีความหลากหลายค่อนข้างน้อย ซึ่งผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับแนวทัศนะที่ว่าประเพณีการแขวนโลงศพมีต้นกำเนิดจากตอนใต้ของจีนและแพร่กระจายไปทางใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบอีกว่า โลงศพแขวนในพื้นที่ต่าง ๆ ในเอเชียมีตระกูลพันธุกรรมถ่ายทอดผ่านมารดาเพียงไม่กี่ตระกูล นี่สะท้อนให้เห็นว่าระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์โลงศพแขวนต่าง ๆ กันเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด นักวิจัยนำเอาผลวิเคราะห์พันธุกรรมกับหลักฐานทางโบราณคดี มานุษยวิทยากายภาพ คติชนวิทยาและประวัติศาสตร์มาผนวกรวมกัน คาดคะเนว่า ประเพณีการแขวนโลงศพเริ่มต้นขึ้นในกลุ่มชนไป๋เยว์หรือชาวเยว์ร้อยเผ่าตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เมื่อประมาณ 3,600 ปีก่อน ไป๋เยว์คือบรรพบุรุษของชาติพันธุ์ที่หลากหลายในตระกูลภาษาจ้วนไตในปัจจุบัน ต่อมา ประเพณีฝังศพโลงศพแขวนก็ถ่ายทอดแพร่หลายไปในพื้นที่ทางตอนใต้ของจีนด้วยการอพยบและเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์

โดยประมาณช่วง 2,000 ปีก่อน ผู้สืบทอดประเพณีการแขวนโลงศพซึ่งเป็นกลุ่มคนน้อยมากนั้นได้อาศัยวิธีการเผยแพร่เชิงวัฒนธรรม เผยแพร่ประเพณีนี้ไปยังกลุ่มชนดั้งเดิมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกว้างขวาง เช่น ภาคเหนือของไทย

นักวิจัยกล่าวว่า ผลงานวิจัยนี้เพียงแค่ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติแหล่งกำเนิดของการแขวนโลงศพจากมุมมองของตระกูลการถ่ายทอดพันธุกรรมผ่านทางมารดาเท่านั้น ในอนาคตจะมีงานวิจัยที่ใช้ตัวอย่างซากโครงกระดูกมนุษย์ในโลงศพแขวนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น วิเคราะห์จากมุมมองกลุ่มพันธุกรรม DNA และตระกูลพันธุกรรมบิดา Y-DNA เป็นต้น และผนวกรวมวิชาศาสตร์อันหลากหลายที่คาบเกี่ยวกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นหลักฐานสนับสนุนที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้นสำหรับการเผยโฉมหน้าวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ประเพณีการแขวนโลงศพได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น

 

 

ก่อนหน้านี้ ผลงานวิจัยในหัวข้อ “A Matrilineal Genetic Perspective of Hanging Coffin Custom in Southern China and Northern Thailand” ได้พิมพ์เผยแพร่ในวารสารย่อย《iScience》ในวารสาร Cell Press

 

 

滇ICP备 09002441号
中华人民共和国国务院新闻办公室 支持指导
云南省人民政府新闻办公室 主办
云南日报报业集团 承办
本网站由云桥网版权所有,未经授权禁止复制或建立镜像
Copyright ©yunnangateway.com All Rights Reserved since 2006