กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีนเปิดเผยวานนี้ (17 ก.พ.) ว่าจีนจะจัดสร้าง “พื้นที่เพาะปลูกมาตรฐานสูง” อย่างน้อย 80 ล้านโหม่วหรือมากกว่า 33.3 ล้านไร่ ภายในปี 2019
จีนเริ่มจัดสร้างพื้นที่เพาะปลูกทนทานภัยแล้งและน้ำท่วมมาตั้งแต่ปี 2011 เพื่อความมั่นคงทางอาหาร โดยนับถึงสิ้นปี 2018 มีพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวราว 640 ล้านโหม่ว ซึ่งหยั่งผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 100 กิโลกรัมต่อโหม่ว
รายงานระบุว่า ขณะเดียวกันปริมาณการใช้น้ำ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงบนพื้นที่เกษตรกรรมในจีนได้ปรับลดลง 24.3 เปอร์เซ็นต์ 13.8 เปอร์เซ็นต์ และ 19.1 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับต่อหมู่อีกด้วย
นายจาง เสี้ยวซาน นักวิชาการสำนักสังคมศาสตร์แห่งชาติจีนกล่าวว่า การสร้างพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตสูง การใช้เครื่องจักรทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และพัฒนาความหลากหลายของพืชพันธุ์ จะช่วยหนุนจุดได้เปรียบของจีนในตลาดธัญพืชโลก
ทั้งนี้ จีนตั้งเป้าหมายพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกคุณภาพสูง 800 ล้านโหม่วภายในปี 2020 และ 1,000 ล้านโหม่วภายในปี 2022
ปัจจุบัน สองในสามของพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศจีนประกอบด้วยพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตต่ำและพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตปานกลาง โดยครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดยังคงขาดแคลนโครงสร้างชลประทาน