ตลาดน้ำดำเนินสะดวกที่มีลูกค้าคึกคัก เป็นตลาดน้ำที่มีประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี ห่างจากเมืองหลวงกรุงเทพประมาณ 100 กิโลเมตร ปัจจุบัน ที่นี่ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยอิสระ นอกจากนี้ที่นี่ยังมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับคนจีนอยู่เบื้องหลังซึ่งน้อยคนเท่านั้นที่จะรู้
นักข่าวขับรถมายังตลาดน้ำดำเนินสะดวกซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดราชบุรี ริมฝั่งแม่น้ำเต็มไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ มากมาย ในช่วงเช้าเวลา 10.00 น. จะมีพ่อค้าแม่ค้าชูป้ายร้องเรียกเชิญชวนลูกค้าให้ซื้อสินค้าของตนในคลองจะมีเรือสัญจรไปมาขวักไขว่ไม่ว่าจะเป็นเรือขายสินค้าต่างๆ เช่น ไอศกรีมกะทิ ผลไม้ต่างๆ แม่เหล็กติดตู้เย็น และเรือที่บรรทุกนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก สืบเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พ่อค้าแม่ขายจำนวนไม่น้อยหัดพูดภาษาจีนกลาง หรือแม้กระทั่งป้ายต่างๆ ก็มีข้อความภาษาจีน หากมองย้อนกลับไปในอดีต ชาวจีนมาที่นี่ไม่ใช่มาเพื่อท่องเที่ยว ตลาดน้ำถือกำเนิดมาจากการขุดคลองดำเนินสะดวกเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งการขุดคลองในเวลานั้นได้ใช้แรงงานชาวจีนเป็นจำนวนไม่น้อย
คุณหลิน ซึ่งเป็นแม่ค้าชาวท้องถิ่น เธอขายแม่เหล็กติดตู้เย็นและของที่ระลึกที่ริมตลาดน้ำ ปัจจุบัน เธอสามารถพูดภาษาจีนได้เล็กน้อย เธอมักจะสวมหมวกเป็นประจำ ผิวค่อนข้างดำ รูปร่างหน้าตาของเธอไม่ค่อยเหมือนคนท้องถิ่นเหมือนคนจีนมากกว่า “บรรพบุรุษของฉันแซ่หลิน ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง” เธอพูดกับนักข่าวว่า “ชาวจีนที่ขุดคลองดำเนินสะดวกในสมัยนั้น ปัจจุบัน มีจำนวนไม่น้อยที่ยังคงอาศัยอยู่ตามสองฝากฝั่งคลองและแถวนี้ยังมีวัดชาวจีนหลายแห่งอีกด้วย”
คำพูดของคุณหลินนั้นตรงกับประวัติศาสตร์ไทย ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของคลองดำเนินสะดวกที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของกรมการปกครองท้องถิ่นในปี 1866 จุดเริ่มต้นของคลองดำเนินสะดวกนั้นเริ่มขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริที่จะปรับปรุงเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพและราชบุรี จึงได้ทรงรับสั่งให้ทำการขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำท่าจีน และในเวลาอีก 2 ปีต่อมาโครงการขุดคลองก็ได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ และด้วยคลองแห่งนี้มีลักษณะคลองที่เป็นเส้นตรงทำให้ได้รับความสะดวกในการสัญจร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า “คลองดำเนินสะดวก” หมายถึง การเดินทางไปมาสะดวกนั่นเอง
ตามบันทึก อดีตเจ้าอาวาสวัดเป่ายู่อาจารย์เหวยชาย เคยกล่าวไว้ว่า “แรงงานที่ขุดคลองนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่เพิ่งมาถึงเมืองไทย พวกเขาถูกจ้างให้มาขุดแม่น้ำ” พระอาจารย์ยังเล่าอีกว่าในสมัยนั้นแรงงานชาวจีนจะไว้ผมเปีย ดินที่ขุดขึ้นมาจะใช้บุ้งกี้ใส่แล้วขนไปไว้ไปที่อื่นและจะทำงานกันในเวลากลางคืนเพราะอากาศไม่ร้อนส่วนกลางวันจะพักผ่อน
คุณหลินเล่าให้นักข่าวฟังว่า ที่ตั้งปัจจุบันของตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นตลาดที่ถูกสร้างขึ้นมาในภายหลัง ส่วนตลาดน้ำที่เก่าแก่ที่สุดตั้งอยู่ติดกับตลาดน้ำดำเนินสะดวกในปัจจุบัน ซึ่งชาวจีนท้องถิ่นเรียกว่า “เหล่าต๋าเล่อ” หรือตลาดเก่า
หากเราเดินข้ามสะพานแห่งหนึ่งเพื่อเดินผ่านตลาดน้ำดำเนินสะดวกอันคึกคัก ก็จะเห็นป้ายที่เขียนเป็นภาษาจีนว่า “เหล่าต๋าเล่อ” คำว่า “ต๋าเล่อ” ในภาษาไทยมีความหมายว่า “ตลาด” ซึ่ง “เหล่าต๋าเล่อ” มีความหมายว่า “ตลาดเก่า” นั่นเอง
“ตลาดเก่า” ในคลองช่วงนี้จะเงียบกว่าตลาดน้ำดำเนินสะดวกในปัจจุบันมาก ริมฝั่งคลองเต็มไปด้วยร้านค้าสไตล์จีน ป้ายร้านก็เขียนด้วยอักษรจีนคุณยายที่พายเรือขายผลไม้เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า คุณยายเป็นลูกคนจีนเช่นกันบรรพบุรุษมาจากเมืองแต้จิ๋วมณฑลกวางตุ้ง และตอนนี้ยังใช้แซ่ตระกูลอยู่เลย
ปัจจุบัน จุดประสงค์หลักของคนจีนที่มาตลาดน้ำก็คือมาท่องเที่ยวขณะที่ผู้สื่อข่าวกำลังถ่ายรูปบนเรืออยู่นั้นมีนักท่องเที่ยววัยรุ่นชาวจีนกลุ่มหนึ่งโบกไม้โบกมือทักทายกับพวกเรา พวกเขามาจากมณฑลกวางตุ้งแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ทันสมัย บนใบหน้ามีร้อยยิ้มผ่อนคลายและมีความมั่นใจเต็มไปด้วยอารมฌ์ที่สดใสร่าเริง