วันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติของจีนตรงกับเทศกาลที่เก่าแก่ของจีนนั่นก็คือ เทศกาลฉงหยาง เทศกาลฉงหยางได้จัดให้มีขึ้นมานานแล้ว โดยจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลฉงหยาง
ฉงจิ่ว หรือ เลข 9 สองตัว
ความเป็นมาของเทศกาลฉงหยางเริ่มขึ้นในยุคจั้นกั๋ว และในสมัยราชวงศ์ถังได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการตามกฎหมาย นับแต่นั้นเป็นต้นมา เทศกาลฉงหยางก็ได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ในวันที่ 20 พฤษภาคมปี ค.ศ. 2006 เทศกาลฉงหยางถูกจัดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชุดแรก
การเซ่นไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
จีนมีเทศกาลเซ่นไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับดั้งเดิมด้วยกัน 4 เทศกาล คือ เทศกาลฉงหยาง เทศกาลฉูซี (คืนก่อนวันปีใหม่เรียกว่า “ฉูซี”) เทศกาลเช็งเม้ง และเทศกาลจงหยวน
การเคารพผู้อาวุโส
ตั้งแต่ปีค.ศ. 1989 เป็นต้นมารัฐบาลจีนได้กำหนดให้เทศกาลฉงหยางเป็นเทศกาลแห่งการเคารพผู้สูงอายุ ทำให้เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่มีการแสดงความเคารพต่อผู้สูงอายุช่วยเหลือผู้สูงอายุ และแสดงความรักต่อผู้สูงอายุ
ธรรมเนียมการปีนเขา
เทศกาลฉงหยางมีประเพณีการปีนเขา
ธรรมเนียมนิยมปักต้นดอกวูด
ธรรมเนียมการชมดอกเบญจมาศ
วันฉงหยางยังมีธรรมเนียมการชมดอกเบญจมาศดังนั้นเทศกาลฉงหยางจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าเทศกาลดอกเบญจมาศ
สุราดอกเบญจมาศเลิศรส
การดื่มเหล้าดอกเบญจมาศในเทศกาลฉงหยางเป็นประเพณีที่มีประวัติอันยาวนานของจีน
การกินขนมฉงหยาง
การกินขนมฉงหยางในเทศกาลฉงหยาง คำว่า “糕 - เกา - ขนม” เสียงพ้องกับ “高 - เกา - สูง” เพราะฉะนั้นการกินขนมฉงหยางจึงมีความหมายที่เป็นมงคลหมายถึงย่างก้าวที่สูงขึ้น
ไช่ฉิว
เทศกาลฉงหยางเป็นเทศกาลที่เหมาะสมที่สุดในการชมฤดูใบไม้ร่วง หมู่บ้านบางแห่งในภาคใต้ของจีนยังคงรักษาธรรมเนียมไช่ฉิวไว้โดยชาวบ้านจะตากพืชไร่พืชเกษตรบริเวณโดยรอบบ้าน และตะแกรงริมหน้าต่าง