คุณ ไป๋ เจียหลิน วัย 84 ปี แต่งงานกับภรรยาในปี 1959 ในเวลานั้น พิธีแต่งงานของพวกเขาไม่ได้จัดขึ้นตามประเพณีการแต่งงานของชนชาติกิโนเนื่องจากเหตุผลในอดีตและหน้าที่การงาน “พิธีแต่งงานของเราจัดขึ้นแบบเรียบง่าย เราไปซื้อเม็ดแตงโมและลูกอมผลไม้ก็ถือว่าได้แต่งงานแล้ว” หลังจากผ่านไป 59 ปี ในหมู่บ้านกิโนเมืองสิบสองปันนา คุณไป๋ เจียหลินได้คืนการจัดพิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของชาวกิโนให้กับพวกเรา
ของขวัญมอบความรัก
ในฐานะที่เป็นชนชาติภูเขาอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น เครื่องใช้ภายในชีวิตประจำวันของชนชาติกิโนมักทำจากวัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น แม้กระทั่งเครื่องแสดงความรักของชายหนุ่ม หญิงสาว ก็เกิดจากการถักด้วยไม้ไผ่ใบหญ้า
ไม้ Patrinia หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ขู่หม่าเฉ่า” เป็นไม้ที่หากได้ยาก เพราะมันเติบโตที่บริเวณเนินเขา คนในท้องถิ่นใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงว่า“แม้ว่าเราจะห่างกันหลายพันลี้ คุณจะเป็นคนเดียวที่ผมรัก”
เมิ่ง จื้อกัง
ไม้กวาดในภาษาจีนเรียกว่า “扫把 saoba” ที่ถูกตั้งชื่อนี้เพราะพืชที่นำมาทำไม้กวาดใบของมันมีสองแฉกแยกออกจากกัน จึงถูกตั้งชื่อว่า saobaด้วยความเฉลียวฉลาดและมีฝีมือดีของชาวชนชาติกิโน ได้นำเอาใบไม้กวาดมาถักเป็นรูป หัวใจ เพื่อแสดงความหมายถึง“แม้อีกฝ่ายจะอยู่อีกที่หนึ่ง แต่จิตใจของทั้งสองก็ยังใกล้ชิดเชื่อมโยงกัน”
ปีกแมลงทับที่มีสีสันและความมันวาวตามธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ ชนชาติกิโนจึงถือว่าแมลงทับเป็นของล้ำค่า ในสมัยก่อน หากหนุ่มกิโนคนใดมีปีกแมลงทับมากเท่าไหร่ก็จะแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นที่รักของหญิงสาวมากเท่านั้น ในหมู่บ้านกิโนศรัทธาในเรื่องเสรีภาพของความรัก เมื่อหญิงสาวชนชาติกิโนต้องการแสดงความรักต่อชายที่ตนเองชื่นชอบจะขึ้นภูเขาเพื่อไปจับแมลงทับจำนวนมากเพื่อนำมาทำเป็นเครื่องประดับมอบให้แก่ชายคนรัก มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจับแมลงทับและยิ่งไปกว่านั้นแมลงทับไม่ได้พบเห็นได้บ่อยในทุกวันนี้ คุณไป๋ เจียหลินกล่าวว่า แม้เวลาจะผ่านไปนาน 10 กว่าปีแต่ปีกแมลงทับก็ยังคงมีสีสันสดใส ดังนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของมิตภาพอันบริสุทธิ์และลึกซึ้ง และบริสุทธิ์ ตามคุณไป๋ เจียหลินกล่าวว่า ชนชาติกิโนชอบถ่ายทอดความรู้สึกที่อ่อนโยนด้วยของขวัญ ประการแรก เนื่องจากความเกี่ยวข้องทางด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่พวกเขาอาศัยอยู่ และอีกประการหนึ่งเพราะว่าพวกเขาไม่มีตัวอักษรดังนั้นจึงได้นำวิธีการถ่ายทอดความรู้สึกของพวกเขาผ่านพืชและสัตว์ในชีวิตประจำวัน คำถ่ายทอดความรู้สึกเหล่านี้ได้ถูกใช้แทนความหมายต่อๆ กันมา มอบความหมายที่สวยงามให้แก่กับชีวิต ปัจจุบันดูเหมือนว่า “ของขวัญ” จากธรรมชาติเหล่านี้ กลาลเป็นเชิงอรรถที่สวยงามที่สุดสำหรับการตีความวัฒนธรรมของชนชาติกิโน
เมิ่ง จื้อกัง
“ความรักเป็นเรื่องอิสระแต่การแต่งงานไม่ใช่เรื่องอิสระ”
“ชนชาติกิโนไม่มีตัวอักษรของเราเอง ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และประเพณีมารยาทดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ของเรานั้นมาจากเพลงโบราณกิโน”คุณไป๋ เจียหลินกล่าว วัฒนธรรมของชนชาติกิโนได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อน ด้านการแต่งงานและความรักนั้นอะไรควรและอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำก็มีกฎเกณฑ์ซึ่งผ่านการบอกเล่าทางวาจานั่นเอง
ไป๋ เจียหลินบอกกับเราว่า เพลงโบราณของชนชาติกิโนได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ชายและหญิงที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกัน เมื่อกฎเกณฑ์โบราณเหล่านี้ถูกขับร้องด้วยเสียงที่แหบต่ำ ทำให้คนที่ได้ยินต่างมีความรู้สึกอารมฌ์ร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวกิโนวัย 70-80 ปีอย่างพวกเขา ร้องไห้ทุกครั้งที่พวกเขาได้ยินเพลง มีคำพูดที่เป็นที่นิยมในชนชาติกิโนนั่นคือ “ความรักเป็นเรื่องอิสระแต่การแต่งงานไม่ใช่เรื่องอิสระ” คุณไป๋ เจียหลินอธิบายว่า การแต่งงานของชนชาติกิโนไม่มีการคลุมถุงชน และไม่มีคำพูดชักนำของแม่สื่อแต่อย่างใด ความรักระหว่างชายและหญิงใช้ “ความรู้สึก” ถ้าพวกเขาตกหลุมรักกันและกัน พวกเขาจะแสดงความรู้สึกด้วยการส่งสัญญาณต่างๆ อย่างไรก็ตาม หากพวกเขาตัดสินใจที่จะแต่งงาน พวกเขาจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบทั้งหมดของชนชาติกิโน
ค่านิยมดั้งเดิมของความรักและการแต่งงานของชนชาติกิโน ผู้ชายและผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกัน ผู้หญิงที่อายุลงท้ายด้วย 7 หรือชายที่มีอายุลงท้ายด้วย 9 จะไม่แต่งงานในปีนั้นๆ ในเดือนมิถุนานยนถึงกันยายน (ตามปฏิทินจันทรคติ) จะไม่จัดงานแต่งงานเนื่องจากมีฝนตกมาก กฎและข้อกำหนดเสำหรับการสมรสเหล่านี้ได้รับการสืบทอดกันมาในหมู่บ้านของชาวกิโนจากรุ่นสู่รุ่น
By Yang Xiujie Photographs by Meng Zhigang