ในปีค.ศ. 1978 รัฐบาลจีนได้พลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่ประเทศจีนด้วยการเริ่มดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศอย่างจริงจัง ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทางการค้าต่างประเทศของจีนได้พัฒนาไปอย่างมาก และถือได้ว่าเป็นการก้าวกระโดดมากที่สุดในประวัติการณ์
ปริมาณการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้านขนาดของการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้รับการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ตั้งแต่ปี 1978-2017 ปริมาณการนำเข้าและส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นจาก 35,500 ล้านหยวน เป็น 27.8 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นมากถึง 782 เท่า และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 18.6% ต่อปี โดยยอดการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 1.68 หมื่นล้านหยวนเป็น 15.3 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นมากถึง 914 เท่า อัตราการเติบโตเฉลี่ย 19.1% ต่อปี ยอดการนำเข้าสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นจากจาก 1.87 หมื่นล้านหยวน เป็น 12.5 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นมากถึง 664 เท่า อัตราการเติบโตเฉลี่ย 18.1% ต่อปี
สัดส่วนของการค้าในโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูปและเปิดประเทศยอด การนำเข้าและส่งออกสินค้าครองส่วนแบ่งตลาดโลกเพียง 0.8% เท่านั้น จัดอยู่ในอันดับที่ 29 ของโลก ในปี 2017 ยอดการนำเข้าและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วครองส่วนแบ่งตลาดโลก 11.5% จัดอยู่ในอันดับที่ 1 ของโลก แบ่งเป็นสัดส่วนของการส่งออก 12.8% และสัดส่วนของการนำเข้า 10.2%
เพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างการค้าอย่างต่อเนื่อง รูปแบบการค้ามีแนวโน้มการพัฒนาที่สมดุลและเหมาะสมมากขึ้น ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูปและเปิดประเทศ รูปแบบการค้าต่าง ๆ เช่น การแปรรูปวัตถุดิบแ ละการแปรรูปการนำเข้าวัสดุ ได้ช่วยส่งเสริมการค้าต่างประเทศของจีนเป็นอย่างมาก
โครงสร้างผลิตภัณฑ์มีการปรับตัวให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ในปี 1978 การส่งออกผลิตภัณฑ์หลักคิดเป็น 53.5% การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมคิดเป็น 46.5% ในปี 2017 สัดส่วนของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าผลิตภัณฑ์หลักคิดเป็น 94.8% และ 5.2% ตามลำดับ ในปี 1985-2017 การส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าของจีนเพิ่มขึ้นจาก 1,680 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จีนยังคงรักษาสถานะของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเวลาเก้าปีติดต่อกัน ในขณะเดียวกัน สัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 28.8%
ในปี 1978-2017 จีนมีคู่ค้าเพิ่มขึ้นจาก 40 กว่าประเทศเป็น 231 ประเทศและภูมิภาค โดยมีสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น เป็นคู่ค้ารายใหญ่ของจีน การค้าระหว่างประเทศของจีนกับตลาดเกิดใหม่และประเทศที่กำลังพัฒนามีการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา อาเซียนแซงหน้าญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับสามของประเทศจีนสัดส่วนการส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2000 เป็น 12.5% ในปี 2017
ปีนี้เนื่องในโอกาสครบ 5 ปีข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ตลอด 5 ปีมานี้ ข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ได้สร้างผลงานเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับผลประโยชน์อย่างมากมาย ตั้งแต่ปี 2013– 2017 มูลค่ารวมของการนำเข้าและส่งออกสินค้าของจีนกับประเทศตามแนว "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" อยู่ที่ 33.2 ล้านล้านหยวน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 4% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของการนำเข้าและส่งออกสินค้าของจีนในอัตราร้อยละ 1.4 ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของการพัฒนาการค้า